มงคลสูตร
๓๘ ประการ
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสิ่งที่จะนำความสุขความเจริญเข้ามาในชีวิตคือการสวดมงคลสูตร เพื่อให้เป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญและสิริมงคล ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ คำว่า มงคล หมายถึงเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ
หรือสิ่งซึ่งถือว่าจะนำความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายเข้ามากล้ำกราย
ตามหลักพุทธศาสนามงคล
๓๘ ประการหมายถึงเหตุที่นำมาซึ่งความสุขมีทั้งสิ้น ๓๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสตอบเมื่อเหล่าเทวดาและมนุษย์เกิดการโต้เถียงกันว่า
“อะไรคือมงคลที่แท้จริง” พระองค์ทรงเทศนาเรียงลำดับข้อไว้อย่างมีระเบียบจากข้อที่ปฏิบัติง่ายไปสู่ข้อที่ปฏิบัติยากขึ้นตามลำดับ
เป็นความดีตั้งแต่ขึ้นพื้นฐานจนถึงขึ้นสูงสุดคือหลุดพ้นจากกิเลสแล้วเข้านิพพานไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ความยากง่ายของการปฏิบัติหากสังเกตดีๆจะเห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับอายุมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา
ข้อหนึ่งถึงสิบจะเป็นช่วงแรกของมงคล
เป็นข้อปฏิบัติที่เราสามารถทำได้ไม่ยาก
เป็นความดีขั้นพื้นฐานหากเรานำไปปฏิบัติก็จะมีความสุขความเจริญในชีวิต
ถ้าเทียบกับอายุมนุษย์ก็จะอยู่ในช่วงวัยเด็กเพราะเป็นวัยของการศึกษาเล่าเรียนและเตรียมตัวเพื่อเข้าสังคมในอนาคตและอยู่ในความดูแลของพ่อแม่
ตัวอย่างมงคลในช่วงแรก ไม่คบคนพาล คบคนดี เคารพผู้ที่ควรเคารพ
บอกให้ทราบถึงกลุ่มคนใดที่ควรหลีกเลี่ยง(เหมาะกับเด็ก) อยู่ในที่ที่ควรอยู่ คืออยู่ในที่ๆพ่อแม่ดูแลได้
รับฟังให้มากและมีระเบียบวินัย ทำให้เข้าสังคมได้ สังคมต้อนรับ ปราศจากผู้รังเกียจเพราะรู้จักปฏิบัติตัว
ส่วนที่สองจะเป็นข้อปฏิบัติในช่วงวัยกลางคนคือตั้งแต่ข้อยี่สิบถึงสามสิบเพราะเป็นวัยที่ต้องดำเนินชีวิตตามลำพัง
ได้เผชิญกับเหตุการณ์ของสังคมโลก เป็นวัยก่อร่างสร้างตัวเพื่อ
รับผิดชอบในการดำรงชีวิต การปฏิบัติยากขึ้นกว่าในสิบข้อแรกเพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น
ตัวอย่างมงคลในช่วงนี้ บำรุงบิดามารดาคือการตอบแทนคุณพ่อแม่ที่เคยเลี้ยงดูเรามา
การสงเคราะห์บุตรและภรรยาคือการที่เราเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และมีความรับผิดชอบมากขึ้น
การประกอบการงานที่ไม่มีโทษและไม่ทำงานคั่งค้างคือการรับผิดชอบในการดำรงชีวิต
ไม่ประมาทในธรรม นอบน้อมถ่อมตน
รู้จักคุณค่าของสิ่งของและบุคคลคือการงดเว้นไม่ทำบาป เป็นต้น
สุดท้ายตั้งแต่ข้อสามสิบถึงสามสิบแปดเป็นความดีขั้นสูงสุดและเป็นช่วงการปฏิบัติที่ยากที่สุดเพราะเป็นการเตรียมตัวเดินทางเข้าสู่พระนิพพาน
ตั้งแต่บำเพ็ญตบะก็คือการควบคุมตนไม่ให้หลงไปกิเลส ถือพรหมจรรย์
เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตเห็น(อริยสัจ) จิตไม่หวั่นไหวก็คือไม่ได้ยินดียินร้าย
จิตไม่เศร้าโศก เต็มไปด้วยความสุข ข้อปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นข้อปฏิบัติสำหรับคนเข้าวัยชราเพื่อเตรียมตัวสละชีวิตทางโลกและเดินทางเข้าสู่ทางธรรม
น่าสังเกตว่ามงคลข้อต่างที่รวมอยู่ในพระคาถาเดียวกันล้วนแสดงแนวคิดที่สัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันเช่น
เมื่อเราบังคับตนเองไม่ให้หลงไปกับกิเลสได้ เราก็จะรู้จักควบคมตนในทางเพศ(ประพฤติพรหมจรรย์)
เมื่อเป็นดังนี้แล้วเราจะเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตและรู้ถึงพระนิพพาน
เมื่อทราบดังนี้แล้วจิตเราก็จะไม่เศร้าโศกและปลอดโปร่งบริสุทธิ์
แม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับมงคล ๓๘ ประการมาก แต่เราไม่นำมงคลหรือข้อปฏิบัติเหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินชีวิตก็ยากที่จะประสบกับความสุขความเจริญ
เราทุกคนสมควรนำมงคลสูตรของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อปฏิบัติอย่างจริงจัง แม้จะได้ไม่ครบทั้งสามสิบแปดข้อก็ไม่เป็นอะไร
ข้อสำคัญคือขอให้ได้ลงมือทำ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น