วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

It’s Time to Preserve Coral Reefs



It’s Time to Preserve Coral Reefs



            Coral reefs are some of the most important to marine ecosystem and world’s food webs. They are home of marine life such as crabs, shrimp, starfish, sea urchins, jellyfish, many species of fish and various types of fungi. Also, coral reefs can reduce damages from wave action on adjacent land. Unfortunately, today coral reefs are in crisis, they started bleaching. Is it time for us to preserve them?


Corals are animals, because they don’t produce their own food, as plants do. Coral reefs made up of tiny animals called “polyps”. Polyps have a strong exoskeletons made of calcium carbonate (limestone), the main structures of a reef. Each polyp has a ring of tentacles shaped like long arms with tips that can sting.  The healthy corals get their beautiful colors such as red, orange, yellow, green, blue, and purple from tiny algae in their tissue. These algae help corals to provide food during photosynthesis. When seawater temperature gets too warm by global warming, pollutions from land, hot water that releases by power plants or whatever, algae will eject from the coral. Sooner, corals will completely turn into white and pale. When we look at corals, we will see only structures (limestone) which covered by thin layer tissue. This situation generally called “coral bleaching”.


There is good news, Global Coral Reef Alliance, non-profit organization which plays an important role in growing, managing, and protecting all marine ecosystems. They try to save and recover coral reefs by created new innovation called “Biorock” to re-generate the coral reefs from disease and climate changes. The biorock is a new method that uses low voltage of electric current to grow solid limestone rock structures in the sea and accelerate the growth of corals. It will construct habitats for marine life and protecting the shoreline.


Coral reefs are community of marine life and various type of micro-organism. They give us food and protect our land from wave action. Tragically, lots of coral reefs have been damaged by high temperature of seawater. There are many ways to recover and preserve our coral reefs for example, do not discarding garbage or human waste into the beach and learn more about coral reefs. Maybe you can help others understand how coral reef is important. However, it’s time for us to preserve them even though the biorock was created.




มงคลสูตร ๓๘ ประการ



มงคลสูตร ๓๘ ประการ


          คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสิ่งที่จะนำความสุขความเจริญเข้ามาในชีวิตคือการสวดมงคลสูตร เพื่อให้เป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญและสิริมงคล ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ คำว่า มงคล หมายถึงเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ หรือสิ่งซึ่งถือว่าจะนำความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายเข้ามากล้ำกราย


          ตามหลักพุทธศาสนามงคล ๓๘ ประการหมายถึงเหตุที่นำมาซึ่งความสุขมีทั้งสิ้น ๓๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสตอบเมื่อเหล่าเทวดาและมนุษย์เกิดการโต้เถียงกันว่า “อะไรคือมงคลที่แท้จริง” พระองค์ทรงเทศนาเรียงลำดับข้อไว้อย่างมีระเบียบจากข้อที่ปฏิบัติง่ายไปสู่ข้อที่ปฏิบัติยากขึ้นตามลำดับ เป็นความดีตั้งแต่ขึ้นพื้นฐานจนถึงขึ้นสูงสุดคือหลุดพ้นจากกิเลสแล้วเข้านิพพานไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ความยากง่ายของการปฏิบัติหากสังเกตดีๆจะเห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับอายุมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา


          ข้อหนึ่งถึงสิบจะเป็นช่วงแรกของมงคล เป็นข้อปฏิบัติที่เราสามารถทำได้ไม่ยาก เป็นความดีขั้นพื้นฐานหากเรานำไปปฏิบัติก็จะมีความสุขความเจริญในชีวิต ถ้าเทียบกับอายุมนุษย์ก็จะอยู่ในช่วงวัยเด็กเพราะเป็นวัยของการศึกษาเล่าเรียนและเตรียมตัวเพื่อเข้าสังคมในอนาคตและอยู่ในความดูแลของพ่อแม่ ตัวอย่างมงคลในช่วงแรก ไม่คบคนพาล คบคนดี เคารพผู้ที่ควรเคารพ บอกให้ทราบถึงกลุ่มคนใดที่ควรหลีกเลี่ยง(เหมาะกับเด็ก) อยู่ในที่ที่ควรอยู่ คืออยู่ในที่ๆพ่อแม่ดูแลได้ รับฟังให้มากและมีระเบียบวินัย ทำให้เข้าสังคมได้ สังคมต้อนรับ ปราศจากผู้รังเกียจเพราะรู้จักปฏิบัติตัว


          ส่วนที่สองจะเป็นข้อปฏิบัติในช่วงวัยกลางคนคือตั้งแต่ข้อยี่สิบถึงสามสิบเพราะเป็นวัยที่ต้องดำเนินชีวิตตามลำพัง ได้เผชิญกับเหตุการณ์ของสังคมโลก เป็นวัยก่อร่างสร้างตัวเพื่อ รับผิดชอบในการดำรงชีวิต การปฏิบัติยากขึ้นกว่าในสิบข้อแรกเพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ตัวอย่างมงคลในช่วงนี้ บำรุงบิดามารดาคือการตอบแทนคุณพ่อแม่ที่เคยเลี้ยงดูเรามา การสงเคราะห์บุตรและภรรยาคือการที่เราเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และมีความรับผิดชอบมากขึ้น การประกอบการงานที่ไม่มีโทษและไม่ทำงานคั่งค้างคือการรับผิดชอบในการดำรงชีวิต ไม่ประมาทในธรรม นอบน้อมถ่อมตน รู้จักคุณค่าของสิ่งของและบุคคลคือการงดเว้นไม่ทำบาป เป็นต้น


          สุดท้ายตั้งแต่ข้อสามสิบถึงสามสิบแปดเป็นความดีขั้นสูงสุดและเป็นช่วงการปฏิบัติที่ยากที่สุดเพราะเป็นการเตรียมตัวเดินทางเข้าสู่พระนิพพาน ตั้งแต่บำเพ็ญตบะก็คือการควบคุมตนไม่ให้หลงไปกิเลส ถือพรหมจรรย์ เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตเห็น(อริยสัจ) จิตไม่หวั่นไหวก็คือไม่ได้ยินดียินร้าย จิตไม่เศร้าโศก เต็มไปด้วยความสุข ข้อปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นข้อปฏิบัติสำหรับคนเข้าวัยชราเพื่อเตรียมตัวสละชีวิตทางโลกและเดินทางเข้าสู่ทางธรรม


          น่าสังเกตว่ามงคลข้อต่างที่รวมอยู่ในพระคาถาเดียวกันล้วนแสดงแนวคิดที่สัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันเช่น เมื่อเราบังคับตนเองไม่ให้หลงไปกับกิเลสได้ เราก็จะรู้จักควบคมตนในทางเพศ(ประพฤติพรหมจรรย์) เมื่อเป็นดังนี้แล้วเราจะเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตและรู้ถึงพระนิพพาน เมื่อทราบดังนี้แล้วจิตเราก็จะไม่เศร้าโศกและปลอดโปร่งบริสุทธิ์



          แม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับมงคล ๓๘ ประการมาก แต่เราไม่นำมงคลหรือข้อปฏิบัติเหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินชีวิตก็ยากที่จะประสบกับความสุขความเจริญ เราทุกคนสมควรนำมงคลสูตรของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อปฏิบัติอย่างจริงจัง แม้จะได้ไม่ครบทั้งสามสิบแปดข้อก็ไม่เป็นอะไร ข้อสำคัญคือขอให้ได้ลงมือทำ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของเรา 


คุณค่าทางด้านเนื้อหาและวรรณศิลป์ของลิลิตตะเลงพ่าย




คุณค่าทางด้านเนื้อหาและวรรณศิลป์ของลิลิตตะเลงพ่าย



                สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายตามที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้นิพนธ์ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ได้ทรงกู้อิสรภาพของไทยกลับคืนหลังจากเสียกรุงครั้งแรก โดยการทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราช ลิลิตตะเลงพ่ายแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ เป็นการแต่งร่ายสุภาพกับโคลงสุภาพสลับกันไป ประเภทของโคลงที่ใช้มีตั้งแต่โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ ลิลิตตะเลงพ่ายจึงเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติและวรรณคดีประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ามากทั้งในด้านเนื้อหา และในด้านวรรณศิลป์


                คุณค่าทางด้านเนื้อหาของลิลิตตะเลงพ่ายจะมีตั้งแต่คุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ด้านสังคม คุณธรรมข้อคิด ตลอดจนวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน ในด้านประวัติศาสตร์ลิลิตตะเลงพ่ายได้บอกเล่าเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับจันทนุมาศ (เจิม) ผู้เขียนพยายามรักษาข้อเท็จจริงไว้ไม่ให้คลาดเคลื่อนจากเนื้อหาภายในพงศาวดาร เช่น เส้นทางการเดินทัพ ชื่อแม่ทัพหรือชื่อนายกอง เป็นต้นเนื้อหาภายในพระราชพงศาวดารเล่าถึง การกระทำของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงที่มีคำสั่งให้พระมหาอุปราชายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาหลังจากที่ทรงทราบข่าวการสวรรคตของพระมหาธรรมราชา แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองแล้วจึงได้จัดทัพเตรียมรับศึกนอกพระนคร พระนเรศวรมหาราชทรงใช้สติปัญญาและไหวพริบของตนเองจนสามารถเอาชนะพระมหาอุปราชได้


                คุณค่าทางด้านสังคม ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นสรรณคดีที่ปลุกกระแสรักชาติให้กับคนในสังคมไทย เมื่ออ่านแล้วจึงเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในชาติ และซาบซึ้งถึงการเสียสละของบรรพบุรุษไทยที่เสียเลือดเนื้อเพื่อปกป้องชาติ วรรณคดีเรื่องนี้จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในปัจจุบันให้เกิดความหวงแหนในแผ่นดิน และภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ลิลิตตะเลงพ่ายแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโหราศาสตร์ หรือลางบอกเหตุต่างๆ เช่น ตอนที่พระนเรศวรทรงพระสุบินว่า ทรงลุยน้ำไปพบจระเข้ตัวใหญ่ที่หมายจะเข้ามาทำร้ายพระองค์ และพระองค์ได้ประหารจระเข้ตัวนั้นตาย จึงนำความฝันนี้ไปให้โหรทำนาย โหรทำนายว่าจะพระนเรศวรจะชนะศึกหงสาวดี

ทันใดดิลกเจ้า        จอมถวัลย์
สร่างผทมถวิลฝัน  ห่อนรู่
พระหาพระโหรพลัน              พลางบอก ฝันนา
เร็วเร่งทายโดยกระทู้             ที่ถ้อยตูแถลง


และอีกตอนที่เห็นได้ชัดคือตอนที่ลมเวรัมภาพัดฉัตรของพระมหาอุปราชาหักลงขณะเดินทัพ
พระพลันเห็นเหตุไซร้             เสียวดวง แดเอย
ถนัดดั่งภูผาหลวง  ตกต้อง
กระหม่ากระเหม่นทรวง        สั่นซีดพักตร์นา
หนักหฤทัยท่านร้อง                               เรียกให้โหรทาย


                วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ก็มีบรรยายไว้ในลิลิตตะเลงพ่าย เช่น ก่อนออกรบก็ต้องมีการปลุกขวัญกำลังใจทหาร กษัตริย์ต้องสรงน้ำ แต่งเครื่องต้นสวยงามก่อนออกสู่สนามรบ ผู้คนมีความศรัทธาอย่างเข้มแข็งในพระพุทธศาสนา เห็นได้จากการนำพระพุทธรูปออกไปในการสู้รบด้วย


                คุณธรรมข้อคิดก็เป็นหนึ่งในหัวข้อของคุณค่าทางด้านเนื้อหา ลิลิตตะเลงพ่ายได้สอนคุณธรรมที่ควรปฏิบัติให้กับผู้อ่านได้หลายอย่าง เช่น การเป็นคนกตัญญูต่อบุคคลใกล้ชิดและต่อประเทศชาติ เห็นได้จากบทรำพึงของพระมหาอุปราชถึงพระราชบิดา แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของลูกที่มีต่อพ่อระหว่างที่ตนเองออกไปรบ พระมหาอุปราชทรงห่วงว่า ถ้าหากตัวเองตายเพราะศึกครั้งนี้ ใครจะออกไปรบแทนพ่อเมื่อมีศึกมาประชิดเมือง แล้วถ้าไม่มีใครประเทศพม่าจะอยู่ได้อย่างไร


ณรงค์นเรศวร์ด้าว ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน              รบสู้
เสียดายแผ่นดินมอญ           พลันมอด ม้วยแฮ
เหตุ บ่ มีมือผู้          อื่นต้านทานเข็ญ


                การเป็นคนช่างสังเกต มีไหวพริบ จะทำให้ตัวเองพ้นจากอันตรายได้อย่างเช่นพระนเรศวรที่ต้องตกอยู่ท่ามกลางกองทัพพม่าเพราะช้างเกิดตกมัน พระนเรศวรทรงใช้สติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบของตัวเองมาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการพูดจาโน้มน้าวและทำตัวอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระมหาอุปราชเพื่อให้พระมหาอุปราชออกมาทำยุทธหัตถีเพราะเล็งเห็นว่านี่เป็นหนทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดและมีโอกาสได้ชัยชนะมากที่สุด


                ตอนที่พระวันรัตนกราบทูลขอพระนเรศวรให้พระราชทานอภัยโทษแก่บรรดาแม่ทัพ นายกอง และทหารทั้งหลายที่ตามเสด็จไม่ทัน จึงเป็นเหตุทำให้พระองค์ต้องไปตกอยู่ในวงล้อมพม่า ก็เป็นอีกตัวอย่างของการใช้ไหวพริบและการพูดจาโน้มน้าวใจคน พระวันรัตสามารถโน้มน้าวใจพระนเรศวรได้โดยบอกว่า การที่ทหารเสด็จตามพระองค์ไม่ทันเป็นการแสดงถึงความเก่งกาจของพระองค์ที่สามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ด้วยตัวพระองค์เอง  พระนเรศวรเมื่อฟังแล้วก็เกิดความภูมิใจในชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่ได้มาด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์เอง ทำให้บรรดาแม่ทัพนายกองรอดพ้นจากการโดนประหารตามที่มีบัญญัติไว้ในกฎอัยการศึก


                ด้านวรรณศิลป์ลิลิตตะเลงพ่ายถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่ง เพราะมีสำนวนโวหารที่ไพเราะควบคู่ไปกับการเลือกสรรถ้อยคำอย่างประณีตทำให้สื่อความได้ชัดเจนและไพเราะ ไม่ว่าจะเป็นตอนทำศึกสงคราม หรือตอนที่เศร้าโศกผู้แต่งก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างดีเยี่ยม สื่อออกมาผ่าน การเล่นเสียง การซ้ำคำ การเล่นคำพ้อง การสร้างจินตภาพ และการใช้ภาพพจน์ต่างๆ เช่น อุปมา อุปลักษณ์ สัทพจน์ หรืออติพจน์ เหล่านี้ล้วนมีอยู่ในวรรณคดีเรื่องนี้ 


ในลิลิตตะเลงพ่ายมีการเล่นเสียงอยู่ในแทบทุกบท รูปแบบของการเล่นเสียงที่นำมาใช้มากที่สุดคือการเล่นเสียงพยัญชนะ รองลงมาคือสระ และวรรณยุกต์ แสดงถึงความเก่งกาจของผู้เขียนที่สามารถเลือกใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ที่เหมือนกันมาเรียงต่อกันโดยที่มีความหมายชัดเจน เสียงที่เหมือนกันทำให้เกิดความไพเราะเมื่ออ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะ



ตัวอย่างการเล่นเสียงพยัญชนะ

v ดำเนินพจนพากย์พร้อง        พรรณนา
องค์อัครอุปราชา                   ท่านแจ้ง
กอบเกิดขัตติยมา                  นะนึก หาญเฮย
ขับคชเข้ายุทธ์แย้ง                 ด่วนด้วย โดยถวิล

ในบทนี้มีการเล่นเสียงพยัญชนะ พ, อ และ ด



v  งามสองสุริยราชล้ำ               เลอพิศ นาพ่อ
พ่างพัชรินทรไพจิตร              ศึกสร้าง
ฤารามเริ่มรณฤทธิ์                                รบราพณ์แลฤา
ทุกทิศทุกเทศอ้าง                  อื่นไท้ ไป่เทียบ

ในบทนี้มีการเล่นเสียงพยัญชนะ ส, พ, ร และ ท



v  สมเด็จอนุชน้องแก้ว              ทรงสุภาแพร้ว        เพริศพร้อมเพราตา

ในบทนี้มีการเล่นเสียง พ


ตัวอย่างการเล่นเสียงสระ
v  บัดมงคลพ่าห์ไท้    ทวารัติ
แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียรสะบัด  ตกใต้
อุกคลุกพลุกเงยงัด                                คอคชเศิกแฮ

ในบทนี้มีการเล่นสระ เอีย และ สระ อุ



v  พระพลันทรงเครื่องต้น          งามประเสริฐเลิศล้น (เล่นเสียงสระ เออ)



                การซ้ำคำ เป็นการซ้ำเพื่อเน้นย้ำความหมายของคำๆนั้น หรือเป็นการเน้นย้ำให้ทำ ปรากฏอยู่ในลิลิตตะเลงพ่ายตอนที่พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง(พ่อของพระมหาอุปราช)อวยพรและสั่งสอนพระมหาอุปราชก่อนออกไปทำศึกสงครามดังต่อไปนี้


v  จงจำคำพ่อไซร้      สั่งสอน
จงประสิทธิ์สมพร  พ่อให้
จงเรืองพระฤทธิ์รอน อริราช
จงพ่อลุลาศได้       เผด็จด้าว แดนสยาม
(มีการซ้ำคำว่า จง )


การเล่นคำพ้อง ในลิลิตตะเลงพ่ายมีเล่นทั้งคำพ้องรูปและคำพ้องเสียง

v  สลัดไดใดสลัดน้อง              แหนงนอน ไพรฤา
เพราะเพื่อมาราญรอน         เศิกไสร้
สละสละสมร         เสมอชื่อ ไม้นา
นึกระกำนามไม้     แม่นแม้น ทรวงเรียม
มีการเล่นคำพ้องเสียงคือคำว่า (สลัด)ได กับ ใด ส่วนคำพ้องรูปคือคำว่า สลัด กับ สละ
นอกจากจะมีคำพ้องเสียงแล้วยังมีการเล่นพยัญชนะ พ,ส และ   เข้ามาเสริมอีกด้วย


v  สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง           ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย            ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย       วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า                หยุดได้ฉันใด


ในบทนี้มีการเล่นคำพ้องรูปคือคำว่า สาย และมีการเล่นเสียงพยัญชนะ และแสดงให้เห็นถึงจินตภาพทางการได้กลิ่น ส่วนจินตภาพทางด้านการมองเห็นมีอยู่ในฉากต่อสู้ต่างๆ แต่ในที่นี้จะยกตัวอย่างตอนที่ลม เวรัมภา พัดฉัตรของพระมหาอุปราชหัก เมื่ออ่านแล้วสามารถจินตนาการได้ถึงความแรงของลมที่มีกำลังแรงมากจนสามารถพัดฉัตรให้หักลงมาได้


v  เกิดเป็นหมอกมืดห้อง           เวหา หนเฮย
ลมชื่อเวรัมภา        พัดคลุ้ม
หวนหอบหักฉัตรตรา            คชขาด ลงแฮ
แลธุลีกลัดกลุ้ม      เกลื่อนเพี้ยงจักรผัน


                การใช้ภาพพจน์ในลิลิตตะเลงพ่าย มีการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาหรือก็คือการเปรียบเหมือน อุปลักษณ์การเปรียบเป็น สัทพจน์การเลียนเสียงธรรมชาติ และสุดท้าย อติพจน์คือการกล่าวเกินจริง ต่อไปนี้คือตัวอย่างของภาพพจน์ที่อยู่ในลิลิตตะเลงพ่าย ดังนี้

ตัวอย่างการใช้อุปมา มีคำเชื่อมคือ ดั่ง,ดุจ,เปรียบ,ปูน,ราว,กล และ เพี้ยง


v  พระพลันเห็นเหตุไซร้             เสียวดวง แดเอย  
ถนัดดั่งภูผาหลวง                  ตกต้อง



v  อ้าจอมพระจักรพรรดิผู้         เพ็ญยศ
แม้นพระเสียเอารส                               แก่เสี้ยน
จักเจ็บพระอุระระทด            ทุกข์ใหญ่ หลวงนา
ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน                               หั่นกลิ้งไกลองค์


ทั้งสองบทข้างต้นนี้เป็นลักษณะภาพพจน์แบบอุปมา เพราะมีคำเชื่อมคือ ดั่ง



ตัวอย่างการใช้อุปลักษณ์ มีคำเชื่อมคือ เป็น หรือ คือ

v  นุสนธิ์ซึ่งน่านน้ำ     นองพนาสณฑ์เอย
หนปัจฉิมทิศา        ท่วมไซร้
คือทัพอริรา-          มัญหมู่นี้นา
สมดั่งลักษณ์ฝันไท้                                ธเนศนั้นอย่าแหง

โคลงข้างต้นนี้เป็นลักษณะการใช้ภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ โดยมี คือ เป็นคำเชื่อม โดยเปรียบน่านน้ำ เป็น กองทัพพม่า


v  บุรีรัตนหงสา          ธ ก็บัญชาพิภาษ   ด้วยมวลมาตยากร
ว่านครรามินทร์   ผลัดเปลี่ยนแผ่นดินเปลี่ยนราช            เยียววิวาทชิงฉัตร

เปรียบนครรามินทร์ (ราม+อินทร์) เมืองของพระรามในที่นี้หมายถึงกรุงศรีอยุธยา
เปรียบเทียบฉัตร เป็นตัวแทน เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ ชิงฉัตร จึงมีความหมายว่าชิงราชบัลลังก์)


ตัวอย่างการใช้ สัทพจน์

v  เร่งคำรนเรียกมัน   ชันหูชูหางแล่น       แปร้นแปร๋แลคะไขว่
ใช้คำว่าแปร้นแปร๋แทนเสียงของช้าง


ตัวอย่างการใช้อติพจน์ การกล่าวอะไรเกินจริง
ขอยกตัวอย่างบทรำพึงของพระมหาอุปราชต่อพระราชบิดา (นันทบุเรง) ว่าด้วยการเทียบพระคุณของบิดาว่ามีมากกว่าแผ่นดิน ยิ่งใหญ่กว่าสวรรค์ชั้นฟ้า หรือ บาดาล

v  พระคุณตวงเพียบพื้น           ภูวดล
เต็มตรลอดแหล่งบน             บ่อนใต้
พระเกิดพระก่อชนม์              ชุมชีพ มานา
เกรง บ่ ทันลูกได้    กลับเต้าตอบสนอง



                ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีชั้นสูงและมีคุณค่ามากดังที่กล่าวไปข้างต้น จึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมอ่านของคนไทยกันมาจนถึงปัจจุบัน ผู้อ่านจะได้ซาบซึ้งในความไพเราะด้านวรรณศิลป์แล้วยังได้รับความรู้ทางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมต่างๆของคนไทยในสมัยก่อน ควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง