จากทวารวดี สู่นครปฐม
เมื่อวันที่ 27 – 28 มิถุนายน ได้มีโอกาสได้ไปร่วมอบรมครูที่จังหวัดนครปฐม เรื่อง ทวารวดี และการเป็นนักประวัติศาสตร์ เพื่อให้คุณครูได้นำความรู้ที่ได้รับกลับไปสอนให้กับนักเรียนของตน
เมื่อวันที่ 27 – 28 มิถุนายน ได้มีโอกาสได้ไปร่วมอบรมครูที่จังหวัดนครปฐม เรื่อง ทวารวดี และการเป็นนักประวัติศาสตร์ เพื่อให้คุณครูได้นำความรู้ที่ได้รับกลับไปสอนให้กับนักเรียนของตน
แต่ก่อนที่เราจะไปอบรม คุณครูของเราได้พาเราไปดูพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ก่อนเพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจในทวารวดีว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร วัฒนธรรมต่างๆ ศิลปะ วัตถุโบราณ
และอื่นๆอีกมากมาย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ ที่นี่เป็นสถานที่ที่รวบรวมและเก็บรักษาโบราณวัตถุที่หาชมได้ยาก
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะสมัยทวารวดี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ทางด้านทิศใต้
เป็นที่รวบรวมเก็บรักษาโบราณวัตถุ
การได้มาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีนี้ทำให้เราได้ความรู้
ในเรื่องของทวารวดีเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ประวัติความเป็นมาของทวารวดี
ลักษณะทั่วไปของจังหวัดนครปฐมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่าแต่เดิมจังหวัดนครปฐมตั้งอยู่บนแนวชายฝั่งทะเล
และได้พบเครื่องมือหิน และเศษภาชนะดินเผาต่าง ที่มีอายุย้อนไปได้ราว 3000 ปี
ซึ่งเหตุนี้จึงทำให้พิสูจน์ได้ว่ามีการตั้งชุมชมเกิดขึ้นและมนุษย์ก็อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ทำเป็นอาชีพ
และภายหลังคาดว่าจะได้รับอิธิพลมาจากอินเดียมารวมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นเลยทำให้นำไปสู่สังคมสมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา
และในเรื่องของศาสนาและความเชื่อของชุมชนทราวดีถูกสะท้อนออกมาผ่านงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ประเภทต่างๆ
เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร
ภาพแกะสลักพุทธประวัติและชาดก เป็นตัวแทนทางความเชื่อที่ได้เปลี่ยนจากความเชื่อในรูปแบบเดิมไปสู่ความเชื่อในรูปแบบใหม่
เช่น เกิดคตินิยมเผาศพ แทนการฝังศพ
หลังจากที่ได้ชมพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยเราก็กลับไปเพื่อเตรียมตัวกับการอบรมครูที่จังหวัดนครปฐมเป็นเวลา2อาทิตย์(โดยประมาณ)
และแล้วก็มาถึงวันอบรม
ในช่วงเช้าของวันพฤหัสที่ 27 เราได้เข้าไปฟังการบรรยายเรื่อง
“อาณาจักรทวารวดี” (ที่เราได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว)
ส่วนนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้รับมาจากการฟังบรรยายครั้งนี้
ที่มาของคำว่า ทวารวดี
การนำหน้าชื่อ "ทวารวดี" มาใช้เป็นชื่ออาณาจักรมีที่มาจากการค้นพบเหรียญเงิน
๒ เหรียญ ที่เนินหิน ใกล้กับวัดพระประโทน ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.๒๔๘๖ เหรียญทั้ง ๒
จารึกเป็นภาษาสันสกฤตว่า "ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ" ซึ่งแปลว่า
"บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี" และในปี พ.ศ.๒๕๐๗
ได้พบเหรียญที่มีจารึกแบบเดียวกันนี้ ที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งการพบเหรียญที่มีจารึกที่เมืองนครปฐมโบราณและเมืองอู่ทอง
สันนิฐานว่าชื่อนี้ได้มาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาทำการค้าขายกับไทย
ตั้งแต่สมัยโบราณ
เหรียญเงินสมัยทวารวดี พบที่เมืองนครปฐม
ทำไมถึงคิดว่าอาณาจักรโบรารทวารวดีจะเป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน
ถ้าหากดูจากหลักฐานทางธรณีวิทยา และจากสภาพทางภูมิศาสตร์
ลักษณะของตำแหน่งที่ตั้งของเมืองแต่ละเมืองสามารถติดต่อถึงกันได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ
ซึ่งจะสะดวกต่อการติดต่อภายในกันเองและติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศโดย เช่น ชาวอินเดีย
เมืองโบราณสมัยทวารวดีโดยทั่วไป มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่พื้นที่ตั้ง
คือมักตั้งอยู่บนดอนในที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำ มี
โบราณสถานขนาดใหญ่ตั้งอยู่เกึ่งกลางเมืองเช่น เมืองโบราณนครปฐม มีวัดพระประโทน และเจดีย์จุลประโทน*ตั้งอยู่กึ่งกลางเมือง
(เจดีย์จุลประโทน อยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์ 500 เมตร
ซึ่งมีต้นแบบมาจากอินเดีย)
หลักฐานโบราณสถานโบราณวัตถุที่พบมากมาย ซึ่งล้วนมีลักษณะฝีมือทางศิลปกรรมที่คล้ายคลึงกันหมด
ไม่ว่าจะเป็นงานประติมากรรมที่ส่วนใหญ่เป็น พระพุทธรูป
ธรรมจักร ภาพปูนปั้น
และภาพดินเผาประดับที่มีลักษณะเฉพาะ หรือ งานสถาปัตยกรรม ชื่อกันว่าศิลปกรรมอินเดียได้มีอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในดินแดนประเทศไทยมานาน
ธรรมจักรโบราณ พบที่นครปฐม
วัฒนธรรมของอาณาจักรทวารวดี
อาณาจักทวารวดี ตั้งอยู่ระหว่างเขมรกับพม่า
จากหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ด้านโบราณคดี (รวมด้านจารึก)
อาจนำไปสู่ข้อสันนิษฐานที่ว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวง
หรือศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีในยุคหลัง เพราะจากการสำรวจพบว่า
พบพระพุทธรูปเป็นจำนวนมากซึ่งสันนิฐานว่าจะมีต้นแบบมาจากประเทศอินเดีย
พบจารึกเก่าแก่ และธรรมจักรในรูปแบบที่แตกต่างกันออกเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางด้านการค้าขายในสมัยนั้น
อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมมาจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศอินเดีย
ในเรื่องของศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
นอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้ว
เมืองนครปฐมโบราณน่าจะมีบทบาทเป็นเมืองที่สำคัญในสมัยทวารวดีอีกด้วย
เนื่องจากเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลและมีทางน้ำเข้าออกต่อกับฝั่งทะเลโดยตรงได้
นอกจากจะมีบทบาทเป็นเมืองท่าแล้ว
เมืองนครปฐมโบราณยังมีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาอีกด้วย
ดังได้พบหลักฐานด้านศิลปกรรมเนื่องในพุทธศาสนาจำนวนมาก
(สมัยก่อนเมืองนครปฐมเป็นเมืองท่าเพราะว่าชายฝั่งทะเล
กินที่เข้ามาถึงบริเวณนครปฐม กรุงเทพตอนนั้นยังเป็นทะเลอยู่เลย)
การบูรณะ เมืองนครปฐมสมัยรัตนโกสินทร์
เรื่องราวของนครปฐมหลังความรุ่งเรืองสมัยทวารวดี
จนถึงสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
โปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์และเป็นงานสำคัญที่สืบเนื่องต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นช่วงที่นครปฐมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑลนครชัยศรี และในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เมืองนครปฐมได้รับการพัฒนาเรื่อยมา
อบรมครูวันที่สอง
วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน
การเตรียมพร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21
จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง?
-
มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
-
เทคโนโลยีจะมีผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์
-
ทุกๆแห่งเทคโนโลยีสามารถเข้าถึงได้
คนส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีทำอะไรกัน?
เล่นเกม > การเรียนการศึกษา > บันเทิง >
ดูทีวี
จากการทดสอบเด็กในสหรัฐอเมริกาพบว่า
วันไหนที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต พวกเขาจะมีอาการ เศร้า เหงา
เพราะพวกเขาเห็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ อินเตอร์เน็ต ต่างๆเป็นเพื่อน ครู พี่เลี้ยง
และครอบครัว
คุณรู้ไหมว่า เวลาที่เขาทดสอบการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆเนี่ย
เขาใช้อะไรทดสอบ?
ระบบนี้ยากไป
แอปนี้ไม่ผ่าน เขารู้ไดยังไง
คำตอบคือ เขาใช้ลิงชิมแปนซีทดสอบ ถ้าลิงเล่นได้ ถือว่าผ่าน
แต่ถ้าเล่นไม่ได้ก็ถือว่าไม่ผ่านแล้วให้เอากลับไปทำใหม่
ไอคิวของลิงชิมแปนซีประมาณ 50-60 ซึ่งเท่ากับเด็กที่เป็นโรคออทิสติก
มีหลายคนเคยพูดไว้ว่าถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆมันจะทำให้เราได้ใช้สมองน้อยลง ทั้งนี้เป็นเพราะเทคโนโลยีถูกออกแบบมาเพื่อทำให้เราสบายไม่ต้องคิด ทำเองทุกอย่าง
มีหลายคนเคยพูดไว้ว่าถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆมันจะทำให้เราได้ใช้สมองน้อยลง ทั้งนี้เป็นเพราะเทคโนโลยีถูกออกแบบมาเพื่อทำให้เราสบายไม่ต้องคิด ทำเองทุกอย่าง
น่าประหลาดใจ
-
คนไทยใช้ FB มากที่สุดในโลก
(ประมาณ 17.9ล้านคน)
-
เล่นไพ่เท็กซัส หาคู่
-
เด็ก และ วัยรุ่น 1 ใน 8 ติดเกม
-
คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย 2-5 เล่มต่อปี
ปัญหา?
ภัยพิบัติ
-
จะเกิดขึ้นทั่วโลก
-
ประชากรได้รับผลกระทบอย่างหนัก
-
ขาดแขนทรัพยากร
-
ขาดแคลนอาหาร
เจ็บป่วย
-
คนไทย ทุก 7 นาทีจะมีคนตายเพราะมะเร็ง
-
หญิง = มะเร็ง/หลอดเลือดหัวใจ
-
ชาย = อุบัติเหตุ / เอดส์ / ตับแข็ง
(มีผลมาจากการใช้ชีวิตก่อนหน้านี้ ไม่ดูแลตัวเอง)
บรรณานุกรม
http://www.su.ac.th/nkdvaravati/data_page/page2_6_1.htm
http://nakhonpathom.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538771425&Ntype=2
http://www.su.ac.th/nkdvaravati/data_page/page5_1_1.htm
http://www.su.ac.th/nkdvaravati/data_page/page3_4_1.htm
http://www.su.ac.th/nkdvaravati/data_page/page3_4_1.htm
http://topicstock.pantip.com/isolate/topicstock/2006/01/M4013255/M4013255.html