วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

อันตรายใกล้ตัวจาก...เกลือ



สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ

เมื่อหลายวันที่ผ่านมา จขบ. ได้เรียนรู้เรื่อง อันตรายจากเกลือ
เลยอยากนำมาเรียบเรียงให้ทุกคนที่ต้องการจะศึกษาข้อมูล หรือ สนใจในเรื่องนี้

มาดูกันเลยค่ะ...

เริ่มจากว่า

"คุณรู้ไหมว่า เกลือ คืออะไร?"

เกลือ เป็นแร่ธาตุทางโภชนาการชนิดหนึ่ง โดยหลักแล้วคือ โซเดียมคลอไรต์ หรือที่เราเรียกกันว่า เกลือแกง ซึ่งสามารถสกัดได้จากสัตว์และพืช แต่เกลือจากพืชบางครั้งอาจเป็นพิษ เกลือบริโภคสามารถผลิตได้จากน้ำทะเลหรือดินเค็ม เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ให้สเค็มที่มีมาตั้งแต่โบราณ สามารถใช้ถนอมอาหาร ในประวัติศาสตร์ เกลือเคยถูกใช้เป็นค่าตอบแทนในกองทัพรมัน และในหลายศาสนาก็มีการกล่าวถึงเกลือไว้ด้วย

ประเภทของเกลือจะเรียกตามแหล่งที่มา มี 2 ประเภทหลักๆ

1. เกลือสมุทร (Sea salt) คือ เกลือที่ได้จากสูบน้ำทะเลเข้ามาขังไว้ในที่นา ผึ่งแดดและลมจนน้ำระเหยเหลือแต่ผลึกเกลือ 
    สีขาว

เกลือสมุทร (Sea Salt)

2.เกลือสินเธาว์ หรือ เกลือหิน คือ เกลือที่ได้จากดินเค็ม โดยการปล่อยน้ำลงไปละลายหินเกลือที่อยู่ใต้ดินแล้วจึงสูบน้ำกลับขึ้น                  
    มาตากหรือต้มให้น้ำระเหยไป

http://lannatouring.com/Nan/Destination-guide/picture_muangnan4/pic_muangnan4_04.jpg
บ่อเกลือสินเธาว์ บนภูเขา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
เกลิอสินเธาว์




ลักษณะของเกลือ

1. เกลือเม็ด  ผลิตโดยชาวนาเกลือทะเลและผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีตาก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
    เช่น การดองผักผล  ไม้ และไอศกรีม

เกลือเม็ด
2. เกลือป่น ผลิตโดยโรงงานเกลือป่นที่ซื้อเกลือเม็ดจากชาวนาเกลือมาแปรรูปเป็นเกลือป่น และผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ด้วย
    วิธีการต้ม เกลือป่นที่ไม่ต้องผ่านการแปรรูปนิยมทำเป็นเกลือบริโภคตามบ้านเรือน

เกลือป่น
เมื่อเรารู้จักเกลือกันแล้วเราก็จะมาดูในเรื่องของอันตรายที่พบในเกลือว่ามีอันตรายอะไรบ้าง

ผลเสียที่ได้จากการกินเกลือ หรือ โซเดียม 

- เป็นโรคความดันสูง
- เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด 
เพราะเกลือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

- มีไขมันอุดตันในเส้นเลือด (และส่งผลลต่อระบบหมุนเวียนเลือด)


ปกติร่างการจะขับของเสีย (เกลือ) ออกมา เมื่อร่างกายได้รับเกินความต้องการ

 การขับโซเดียมออกจากร่างกาย


- ขับโซเดียมได้ออกทางเหงื่อ

การที่โซเดียมถูกขับออกมากับเหงื่อจึงไม่ได้เป็นวิธีการควบคุมจำนวนโซเดียมในร่างกาย แต่การขับโซเดียมออกทางเหงื่อขึ้นอยู่กับการขับเหงื่อออกมามากน้อยเพียงใด  และขึ้นอยู่กับอิทธิพลของฮอร์โมน  ACTH  และ aldosterone ในสภาวะอุณหภูมิปกติ   การขับเหงื่อออกมาน้อยจะทำให้ขับโซเดียมมีปริมาณน้อยด้วย  แต่ในสภาวะที่อากาศร้อนหรือหลังการออกกำลังกายหรือมีไข้จะทำให้เสียเหงื่อมากถึง ลิตร/วัน  ก็จะทำให้ขับโซเดียมออกมามากขึ้นด้วย ( มากกว่า 250 มิลลิโมลจำนวนโซเดียมที่ขับออกทางผิวหนังสามารถปรับตัวได้เอง เช่นคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีอากาศร้อน  ความเข้มข้นของโซเดียมในเหงื่อจะลดลง

โซเดียมจะออกมาขณะที่เราเหงื่อออก

การขับโซเดียมออกทางไต

ร่างกายจะขับโซเดียมส่วนเกินออกทางไตโดยร่วมอยู่ในปัสสาวะมากที่สุด หรือเกือบเท่ากับปริมาณโซเดียมที่ได้รับ การขับโซเดียมออกทางไตมีความสำคัญมาก เพราะการขับปัสสาวะที่มีโซเดียมปนอยู่ด้วย เป็นกลไกที่สำคัญต่อการรักษาสถานภาพปกติของโซเดียมในร่างกายทั้งหมด โดยจะเห็นโซเดียมที่ขับออกทางปัสสาวะจะมากหรือน้อย จึงขึ้นอยู่กับจำนวน
โซเดียมที่มีในอาหาร

ไตก็เป็นสิ่งสำคัญในการขับของเสีย

การขับโซเดียมทางอุจจาระ

ร่างกายจะสูญเสียโซเดียมโดยปะปนออกไปกับอุจจาระไม่มากนัก ประมาณ 1-2  มิลลิโมลเท่านั้น พร้อมกับน้ำประมาณ 100-200 มิลลิโมลต่อวัน แต่ในระบบทางเดินอาหารจะมีการหลั่งน้ำออกมาประมาณ ลิตรต่อวัน ซึ่งจะถูกดูดกลับเกือบทั้งหมด  และในน้ำส่วนนี้จะมีอิเล็คโตรไลท์อยู่ด้วย การสูญเสียน้ำในช่องทางเดินอาหาร เช่น ในกรณีอุจจาระร่วง หรือมีการอาเจียนอย่างรุนแรง จะส่งผลให้มีการสูญเสียโซเดียมเพิ่มขึ้น ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องดี





โซเดียมอยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง?

อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงส่วนใหญ่มักมีรสชาติเค็ม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารทุกชนิดที่มีรสชาติเค็ม เช่น

- Junk Food (ที่คนไทยเราเรียกว่า "อาหารขยะ")
- Process Food (อาหารแปรรูป หรือ อาหารแช่แข็ง)

ยกตัวอย่างอาหารที่มีส่วนประกอบของ เกลือ หรือ โซเดียมสูง
- Bread (ขนมปัง)
- Roll (ขนมปังแบบก้อน)
- Cold Cut (เนื้อตัดเย็น แหนม ไส้กรอก)
- Pizza (พิซซ่า)
- Soup (ซุป)
- Sandwiches (แซนวิซ)
- Pasta (พาสต้า)
- Meat (เนื้อ)
- Egg (ไข่)
- Bacon (เบคอน)
- Cheese (ซีส)
- Fast Food (อาหารจานด่วน)
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

ตัวอย่างอาหารที่มีโซเดียมสูง


นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มีโซเดียมสูงแต่ไม่เค็ม ซึ่งเรียกว่ามีโซเดียมแฝง ทำให้เรารับโซเดียมโดย
ไม่รู้ตัวดังนั้นจึงควรทำความรู้จักอาหารประเภทนี้ไว้ด้วย

ยกตัวอย่างสิ่งที่มีโซเดียมแฝง...


ผงชูรส 

แม้เป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยประมาณร้อยละ ๑๕ และที่เรารู้ๆ กันอยู่ก็คือ อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ที่ขายในท้องตลาด มักมีการเติมผงชูรสลงไป แทบทุกชนิด เพื่อให้อาหารมีรสอร่อยขึ้น หรือแม้การปรุงอาหารในบ้าน หลายครัวขาดผงชูรสไม่ได้เลย 

อาหารกระป๋องต่างๆ 

เช่น ผลไม้กระป๋อง ปลากระป๋อง และอาหารสำเร็จรูปต่างๆ ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น 
ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก

ขนมต่างๆ

ขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู(Baking Powder หรือ baking Soda) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพน
เค้ก ขนมปัง ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการท าขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) รวมถึงแป้งส าเร็จรูป ที่ใช้ท าขนมเองก็มี โซเดียมอยู่ด้วย เพราะได้ผสมผงฟูไว้แล้ว

น้้าและเครื่องดื่ม 

น้ำฝนเป็นน้ำที่ปราศจากโซเดียม แต่น้ำบาดาลและน้ำประปามีโซเดียมปนอยู่
ผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ก็มักมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย 
ทำให้น้ำผลไม้ เหล่านี้ มีโซเดียมสูง ดังนั้นหากต้องการดื่มน้ าผลไม้ควรดื่มน้ าผลไม้สดจะดีกว่า

-----------------------------------------------------------------------------

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย


* ร่างกายคนเราต้องการเกลือหรือปริมาณโซเดียม 1,500 mg / วัน 

        - ซึ่งเกลือ 1,000 mg ของ โซเดียม = 15 CC ซีอิ๊วขาว (soy sauce)

*** และคุณรู้หรือไม่ว่า?!

"อาหารจีน" มีปริมาณเกลือและโซเดียม 3-4 เท่าของปริมาณที่เราควรได้รับ

                 1,500 x 3 = 4,500 mg
                 1,500 x 4 = 6,000 mg 



อาหารจีนมีปริมาณโซเดียมมาก 3-4 เท่า



จัดอันดับประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตเนื่องจากบริโภคเกลือเกินมากเกินไป

เสียชีวิตมาก 3 อันดับแรก
- Ukraine (ยูเครน) : 2,109 คน
- Russia (รัสเซีย)   : 1,803 คน
- Egypt (อียิปต์)     : 836   คน


เสียชีวิตน้อย 3 อันดับแรก
- Qatar (การ์ตา) : 73 คน
- Kenya (เคนย่า) : 78 คน
- United Arab Emirate (สหรัฐอาหรับอามิเรต์) : 134 คน


สาเหตการตายส่วนใหญ่

-บริโภคเกลือเกิน 1,500 mg / วัน 

                         - หัวใจวายเฉียบพลัน 42%
                         -  อัมพฤกษ์ อัมพาต 41%
                         - Stroke โรคหลอดเลือดสมอง

อัตราการตาย

ผู้ชาย เสี่ยง 60% 


ผู้หญิงเสี่ยง 40%
จากที่เห็นว่า
ผู้ชายจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง อยู่ 20%
และส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ของผู้ที่มีอายุไม่เกิน 69

------------------------------------------------------------------------------------------

"ปริมาณเกลือที่คนไทยบริโภค"

จากข้อมูลล่าสุดพบว่าคนไทยเป็นโรค

ความดันโลหิตสูง เป็น 21.4% หรือ 11.5 ล้านคน
โรคไต  เป็น 17.5% หรือ 7.6 ล้านคน
โรคหัวใจขาดเลือด 1.4 %  หรือ 0.45 ล้านคน
โรคหลาดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) 1.1% หรือ 0.5 ล้านคน


สิ่งที่พบคือ คนไทยบริโภคเกลือมากกว่าปริมาณที่ร่างกายควรจะได้รับมากถึง 2 เท่า
 เฉลี่ยวันละ 10.8 กรัมต่อวัน (5,000 มิลลิกรัม) 




ซึ่งปริมาณโซเดียมที่คนไทยควรจะได้รับ คือ ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อวัน (2,400 มิลลิกรัม)
ร้อยละ 71 ของการบริโภคเกลือ เกิดจากการเติมเครื่องปรุงระหว่างการประกอบอาหาร และโดยปกติอาหารตามธรรมชาติก็มีส่วนประกอบของเกลือหรือโซเดียมอยู่แล้ว และเมื่อมีการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆเพื่อให้รสชาติอาหารดีขึ้นเลยทำให้มีปริมาณของเกลือ หรือ โซเดียม เพิ่มมากขึ้นอีก

โดยที่เกลือ 1 ช้อนโต๊ะจะมีปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม 
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160 – 1,420 มิลลิกรัม 
ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1,420 มิลลิกรัม 
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม 
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม 
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 420-490 มิลลิกรัม


ซอสปรุงรส


น้ำพริกกะปิ
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า

 “คนไทยต้องลดอาหารเค็ม "

จากการสำรวจโดยกรมอนามัย พบว่าคนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำ การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ทำให้หัวใจทำงานหนัก ก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และความดันโลหิตสูงความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้”


เราสามารถลดปริมาณโซเดียมที่รับประทานได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ
เช่น 
- หลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงเพิ่มรสในก๋วยเตี๋ยว 
- งดเติมพริกน้ำปลาในข้าวแกง
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม
- เลือกรับประทานอาหารที่มีหลายรสชาติ 
- รับประทานน้ำซุปต่าง ๆ ในปริมาณน้อย 
- ตรวจดูปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคบนฉลากของซอสปรุงรส อาหารสำเร็จรูป และถุงขนมทุกครั้งก่อนรับประทาน

ถ้าลดอาหารเค็มได้ 1-3 กรัม จะช่วยลดความดันลงได้ถึง 10 มิลลิเมตรปรอท และช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจได้ร้อยละ 25 จากสถิติพบว่า ประเทศที่บริโภคเกลือมาก จะมีอุบัติการณ์โรคความดันสูงถึงร้อยละ 20 ในขณะที่ประเทศที่บริโภคเกลือน้อย จะมีอุบัติการณ์โรคความดันสูงเพียงร้อยละ 5-10 เท่านั้น
อาหารรสชาติเค็ม เป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง ความเคยชินในการรับประทานอาหารรสเค็มจัดของคนไทยปรับเปลี่ยนได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้หากค่อยๆลดความเค็มทีละน้อยจะทำให้เกิดความเคยชิน เราก็จะไม่ติดการบริโภคเค็มมากเกินไป เราควรสร้างนิสัยการรับประทาน อาหารอ่อนเค็มในวันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต


แต่ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่

ร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
บางคนขับเกลือออกได้ดี
แต่ในบางคนก็ขับได้ไม่ดีเลยทำให้มีการสะสมในร่างกายจนส่งผลเสีย
และถึงแม้ว่าร่างกายจะขับเกลือและโซเดียมออกมาได้ดีขนาดไหน 
เราก็ไม่ควรบริโภคเกลือให้มากเกินไปอยู่ดี เพื่อผลดีต่อตัวเรา
แต่ในที่นี้นี้ก็ไม่ได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่ให้ บริโภคเกลือหรือโซเดียมเลย
แต่เรากล่าวถึงผลเสียที่เกิดขึ้น "หากกินมากไป"


โซเดียมอาจจะไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มความดันโลหิตในทุกคน แต่คนที่ร่างกายมีความไวต่อเกลือก็จะมี

โอกาสเกิดความดันสูงได้ง่ายกว่า มีงานวิจัยมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าการลดปริมาณเกลือในอาหารไม่ได้ก่อให้

เกิดผลเสีย แต่กลับดีต่อสุขภาพ

อาหารในธรรมชาติจะมีโซเดียมเพียงเล็กน้อย ยกเว้นอาหารทะเลแต่ 75% ของเกลือที่คนเราบริโภคมาจากอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ~ 20% มาจากส่วนที่เติมบนโต๊ะอาหารหรือในการปรุงอาหาร และในรูปของซอสปรุงรสต่างๆ เพียง 5% เท่านั้นที่มาจากอาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ ปริมาณที่แท้จริงของเกลือที่มีในอาหารคาดคะเนไม่ง่ายอย่างที่เราคิดกัน สิ่งที่จะทำได้ก็คือเรียนรู้ว่าโซเดียมแทรกตัวอย่างในอาหารชนิดใดบ้าง

แค่นี้...กำลังดี 

          การได้รับอะไรที่มากไปหรือน้อยไปย่อมไม่ดีแน่ๆ โซเดียมก็เช่นเดียวกัน ซึ่งใน 1 วันเราต้องการโซเดียมไม่มาก โดยสามารถแบ่งได้ตามวัยดังนี้

          
 อายุ ปริมาณโซเดียมที่ต้องการต่อวัน (มิลลิกรัม)

          6 เดือนแรก 200-400 (เท่ากับปริมาณโซเดียมในนมแม่)

          6-11 เดือน 175-550

          1-3 ปี 225-675

          4-5 ปี 300-900

          6-8 ปี 320-950

          9-12 ปี 350-1,175

          13-15 ปี 400-1,500

          16-18 ปี 425-1,600

          19-30 ปี 400-1,475

          31-70 ปี 400-1,450

          
คุณแม่ท้องและคุณแม่ให้นมลูกต้องการโซเดียมเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย โดยคุณแม่ท้องอาจจะต้องการเพิ่มขึ้น 50-200 มิลลิกรัม ส่วนคุณแม่ให้นมอาจต้องการเพิ่มขึ้น 125-350 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ ปริมาณโซเดียมที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติเกือบจะเพียงพอกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว บวกกับการปรุงรส ทำให้ในแต่ละวันเรามักได้โซเดียมเกินความต้องการจากการกินอาหาร ซึ่งมีข้อกำหนดว่าความต้องการสูงสุดของโซเดียมที่ได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตรายกับร่างกาย คือ ไม่เกิน 2400 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ (คิดเป็นเกลือแกงประมาณ 6 กรัม หรือ 1 ช้อนชาพูน หรือถ้าเป็นการใช้เครื่องปรุงรสประเภทน้ำปลาหรือซีอิ้วไม่ควรเกิน 3-4 ช้อนชาต่อวัน) 



ปริมาณของโซเดียม


- Sodium-Free น้อยกว่า 5 ต่อครั้ง
- Very Low Sodium น้อยกว่า 35 ต่อครั้ง
- low Sodium 140 / น้อยกว่า 140 ต่อครั้ง
- Less Sodium 25% ต่อครั้ง
- Light in Sodium  น้อยกว่า 50 ต่อครั้ง

*** ถ้าเป็นอาหาร แคลลอรี่ต่ำ (Low Fat) หรือ ไม่มีไขมัน
       น้อยกว่า 50 ต่อครั้ง
------------------------------------------------------------------------------------------





คำถามชวนคิด?
มีใครสงสัยบ้างไหมว่า?

1. ทำไมไม่ตายเพราะโรคไตทั้งๆที่กินเกลือ แต่ไปตายเพราะโรคหัวใจ หลอดเลือดสมองแทน
-2. ทำไมประเทสที่มีอัตราการเสียชีวิตมาก ต้องเป็น ยูเครน รัสเซีย และอียิปต์
    เพราะสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกหรอ? หรืออย่างไร



ตอบข้อสงสัย...


1. เพราะไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการปรับระดับโซเดียมในร่างกายคนเรา เมื่อปริมาณโซเดียมสูงเกิน
   ไป  ไตจะขับถ่ายออกมา ในทางกลับกันถ้าร่างกายต้องการโซเดียม
   ไตจะทำงานโดยดูดสสารนั้นกลับสู่เลือด แต่เมื่อไตทำงานผิดปกติไม่สามารถขับโซเดียมได้ใน
    ปริมาณที่เหมาะสม จนร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสม น้ำในร่างกายก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่น
    หมายถึงว่าระดับเลือดก็จะสูงขึ้นด้วย เมื่อปริมาณเลือดสูงขึ้น เลือดต้องวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือด
    มากขึ้น เป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งหัวใจก็ต้องสูบฉีดหนักขึ้น เพราะปริมาณเลือดที่
    เพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้น
   
    นอกจากผลต่อความดันโลหิตแล้ว ปริมาณโซเดียมที่มากเกินความต้องการของร่างกายจะทำให้       
    ปริมาณน้ำของเนื้อเยื่อภายในและภายนอกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการบวม หรือปริมาณของเหลว  
    ในร่างกายที่มากเกินไปทำให้เกิดอาการเส้นเลือดคั่ง และหัวใจวายได้



2. ที่เป็น 3 ประเทศนี้ก็เพราะว่า
    ทั้งสามประเทศนี้อยู่ติดกับทะเลที่มีความเข้มข้นของ โซเดียม หรือ เกลือสูง
    ได้แก่ ทะเลดำ และ Dead Sea

เราสามารถลอยตัวใน Dead Sea ได้เลย เพราะมีความเค็มสูงมาก

สังเกตดีๆว่า ยูเครนกับรัสเซีย อยู่ใกล้ Black Sea มาก

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันนี้ก็ขอพูดแค่นี้อย่าลืมติดตาม
ตอนต่อไปที่จะมาเขียนนะคะ
ขอบคุณ เคตรดิตภาพ จาก Google นะคะ

แหล่งอ้างอิงในการทำบล็อคครั้งนี้้
www.th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090311200842AAscyws
www.health.kapook.com/view6719.htm
www.health.kapook.com/view48933.html
www.women.thaiza.com/
www.thairath.co.th/content/life/299051
www.mt.mahidol.ac.th/e-learning/bodyfluid%20and%20electrolyte/sodium.htm