วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ช่องว่างระหว่างความคิดและความเป็นจริง

 สวัสดีค่ะกลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ
วันนี้ จขบ. จะมาพูดถึงเรื่องความคิดและความเป็นจริงกันค่ะ

เชื่อว่ามีใครหลายๆคนพบเคยกับปัญหาที่ว่า
คิดได้...แต่ทำไม่ได้
ที่บอกว่าทำไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าไม่ลงมือทำ
แต่แปลได้ว่า ทำแล้วมันออกมาไม่เหมือนอย่างที่คิดเอาไว้
(ต่างจะพวกที่คิดแล้วไม่ลงมือทำนะอย่าสับสนๆ)
อันนี้ขอยกตัวอย่างสถานการณ์ของตัวเองมาเล่าให้ฟังกันนะคะ



                 เรื่องของเรื่องมันก็คือ ตัวเองได้มีโอกาสจัดและตกแต่งห้องเรียนของตัวเองได้ตามใจชอบ
จขบ.และเพื่อนก็ได้ตกลงว่าจะทำ Timeline ติดผนังเพื่อใช่ในการเรียน (ทุกวิชา ไม่ใช่แค่สังคม)
เราใช้สีแม่เหล็กในการทำ
(สีแม่เหล็กคือสีที่ผสมแม่เหล็กไว้ เมื่อเราทาไปบนกำแพงหรือสิ่งของอื่นๆที่ที่เราทาก็สามารถที่จะเอาแม่เหล็กไปติดได้)
ตอนแรกก็คิดกันอย่างดิบดี วางแผนทุกอย่างเสร็จสรรพเรียบร้อย

“คิดว่ามันง่าย”  

แต่เราคิดผิดอย่างมหันต์
เพราะแค่ตีเส้นตรงเส้นเดียวให้ไม่เบี้ยวเนี่ยก็ปาไปครึ่งค่อนวันแล้ว นี่แค่ตีเส้นยังไม่ได้ทำอะไรต่อเลย
          

  นี่วันแรก...
ปัญหาที่พบในวันนี้คือ
สิ่งที่เราคิดมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ตีเส้นตรงให้ตรงไม่ได้ เพราะพวกเราไม่มีอ้างอิงในการทำงานเลย ในข้อนี้จะขออธิบายสักนิด สิ่งที่จะมาอ้างอิงในสถานการณ์การนี้ได้ก็คือ เส้นตรงลักษณะเป็นยังไง คำตอบคือ เส้นตรงนั้นเป็นระนาบ ซึ่งการที่จะเป็นระนาบได้นั้นก็ต้องมีมุม 90 องศาตั้งฉากอยู่ อยู่ๆจะเอาไม้บรรทัดมาตีเส้นตรงโต้งๆได้ยังไงถ้าไม่มีการพล็อตจุดก่อน?


แต่ก็สามารถแก้ปัญหาที่พบได้
                     หลังจากที่พวกเราพล็อตจุดแล้วก็พบปัญหาที่ว่าเริ่มงงเส้นเพราะเส้นที่เราเขียนไว้บนกำแพงมันมีมากพอสมควร(เพราะแก้กันหลายรอบ) เราแก้ปัญหากันโดยการนำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาใช้ ซึ่งตอนนั้นมีเทปกาวพอดีเลยใช้เทปกาวมาปิดทับเส้นจริงเพื่อไม่ให้สับสน การที่เลือกใช้เทปกาวก็เพราะว่ามันแกะออกได้ (ติดใหม่ได้ ถ้ามันเบี้ยว) และมองเห็นได้ชัดกว่าดินสอ นี่เป็นวิธีการที่นำสิ่งของใกล้ตัวมาใช้ในการแก้ปัญหา หรือที่เรียกกันว่า Resourceful

ตัวอย่างของ Resourceful


ส่วนวันที่สอง...
            หลังจากที่ทำเส้นTimeline เสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็ต้องมาทำตุ่มติดแม่เหล็กที่ใช้สำหรับติดกระดาษเวลาเขียน Timeline  อันนี้ใช้เวลาเกือบทั้งวันเพราะมัวแต่นั่งคิดว่าเราจะใช้มันยังไง จะทาสีแม่เหล็กตรงไหนบ้าง ทามากแค่ไหน ใหญ่เท่าไหน และอีกสารพัด (ทั้งๆที่น่าจะคิดได้ตั้งแต่เมื่อคืน แต่พวกเราไม่คิดกัน)  อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาเพราะ Timeline อันนี้จะต้องเสร็จก่อนวันพรุ่งนี้
ปัญหาที่พบในวันนี้....
ก็คือปัญหาเดิม คือ ทำไม่ได้อย่างที่คิด
บริหารเวลาได้ไม่ดี ตัดสินใจช้า = เริ่มงานช้า




และสุดท้าย Timeline อันนี้ก็ไม่เสร็จ

จขบ.ได้รับบทเรียนที่ยิ่งใหญ่จากการทำงานครั้งนี้คือ
สิ่งที่เกิดขึ้นในความคิด ไม่ใช่ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง”
            เพราะบางทีความคิดก็ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง 
เราอาจจะคิดว่าทำอย่างนี้ง่ายๆ แต่พอได้ลองทำจริงๆมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ที่เรานึกว่ามันง่ายเป็นเพราะเราไม่รู้ ที่ไม่รู้ก็เพราะไม่เคยลงมือทำ
แล้วต้องทำยังไงถึงจะรู้ว่าเราไม่รู้

ง่ายๆ...

ก็ลองทำซะสิ....แล้วจะได้รู้ว่าตัวเองรู้รึเปล่า

การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการลงมือทำ
เป็นธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์



เรียนรู้จากประสบการณ์
พบข้อผิดพลาดและแก้ไข

เพิ่มเติมเล็กน้อยค่ะ
อิสระ39 หรือ ดงมูลเหล็กหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้เปิดแล้วนะคะ
ถ้าใครสนใจก็สามารถแวะเข้าไปดูได้ค่ะ (จะได้เห็นบทสรุปของ Timeline ฮา)
เผลอๆอาจจะได้เจอจขบ.ด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/dongmoon.lek (คลิกที่ลิงค์ได้เลยค่ะ)

แล้วเจอกันเอนทรี่หน้าค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่อง “เห็นแก่ลูก”

            หลายคนคงผ่านหูผ่านตากันมาบ้างแล้วกับบทละครพูดเรื่องนี้ (ในช่วงสมัยที่ยังเด็ก)บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นบทละครพูดที่ประทับใจและอยู่ในความนิยมมาเนิ่นนาน

วันนี้เราจะมาวิเคราะห์บทละครพูดเรื่องนี้กันค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกันก่อนว่า บทละครพูดคืออะไร

            บทละครพูดคือละครที่แสดงโดยมีตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนชีวิตจริงแต่ไม่มีการสอดแทรกดนตรี การรำ หรือการขับร้องขณะแสดง มีเพียงแค่บทสนทนาของตัวละครเท่านั้น

            บทละครพูดเริ่มมีในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้รับความนิยมและแพร่หลายสูงสุดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

            การที่เราจะอ่านบทละครพูดให้สนุกสานแล้วเข้าในนั้นเราจะต้องอ่านอย่างพินิจพิจารณามากเป็นพิเศษเพราะในบทละครพูดนั้นไม่มีการบรรยายลักษณะเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น สถานที่ บรรยากาศ หรือแม้กระทั่งความรู้สึกนึกคิดของตัวละครอย่างละเอียดเหมือนกับบทละครรำอื่นๆ มีเพียงแต่การบรรยายฉากและลักษณะตัวละครไว้อย่าคร่าวๆตอนต้นเรื่องเท่านั้น ดังนั้นผู้อ่านจึงต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการใช้จินตนาการในการอ่านเพื่อที่จะทำความเข้าใจในตัวละครว่า การที่ตัวละครแสดงพฤติกรรมอย่างนี้ พูดอย่างนี้ เขาคิดและรู้สึกอย่างไร เราถึงจะอ่านบทละครพูดได้ด้วยความสนุกสนานและซึมซับกับเรื่องที่อ่านได้อย่างเต็มที่


บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

            เรื่องเห็นแก่ลูกเป็นบทละครพูดที่มีขนาดสั้นเพราะมี องก์เดียว ฉากเดียว
(องก์ หมายถึง ตอนหนึ่งในบทละคร มีฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้)

บทละครพูดเรื่องพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้คิดเค้าโครงเรื่องขึ้นเอง มิได้ดัดแปลงมาจากภาษาอื่น สันนิฐานว่าบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ไม่ใช่การแปล

            ในบทละครเห็นแก่ลูกนี้มีวิธีการใช้คำพูดหรือการแสดงท่าทางอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ค่านิยมบางอย่างในสมัยนั้นถูกแทนที่ด้วยค่านิยมสมัยใหม่ เพราะเหตุนี้เลยทำให้บางทีเราต้องใช้เวลาสักนิดเพื่อทำความเข้าใจในบทละครที่อ่าน แต่ “แก่น” ของบทละครเรื่องนี้ก็ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนไปนั่นคือความรักของพ่อและแม่ที่มีต่อลูกและเห็นแก่ลูกโดยการเสียสละความสุขของตนและทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกมีความสุขและได้รับในสิ่งที่ดีที่สุด


วิเคราะห์

ฉาก:
         
              ฉากที่บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกใช้คือฉากบ้านของพระยาภักดี ในห้องหนังสือ ซึ่งฉากในห้องหนังสือนั้นก็แสดงถึงความเป็นส่วนตัวของเรื่องที่จะคุยกันว่าเป็นเรื่องที่คนอื่นๆจะรู้ไม่ได้ และยังสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกของเจ้าบ้านหรือพระยาภักดีว่าเป็นผู้ดีมีตระกูล มีการศึกษา รวมไปถึงการได้รับอิธิพลจากยุโรปในสมัยนั้นด้วย

ตัวละคร:

นายล้ำ ทิพเดชะ

ข้อมูลเกี่ยวกับนายล้ำเมื่อเริ่มเรื่องนั้นเราทราบแค่ว่านายล้ำเป็นคนที่หน้าแก่กว่าอายุเนื่องจากตัวเองเป็นคนดื่มเหล้าจัด

นายล้ำแท้จริงแล้วเป็นบิดาแท้ๆของแม่ลออแต่เดิมเคยรับราชการจนได้รับราชทินนามว่า ทิพเดชะ แต่ก็ต้องเข้าคุกเข้าตารางเพราะโกงพอออกมาจากคุกก็หนีไปอยู่ที่พิษณุโลกแล้วก็ค้าขาย ฝิ่น จนฉิบหายหมดตัว และเมื่อทราบข่าวว่าลูกสาวของตนซึ่งก็คือแม่ลออกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ จึงลงจากพิษณุโลกมาหาพระยาภักดีที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนและเป็นพ่อเลี้ยงของแม่ลออในตอนนี้ด้วย

การที่นายล้ำมาหาพระยาภักดีนั้นในตอนแรกมีจุดประสงค์คือมาเกาะลูกกิน คือไม่มีปัญญาที่จะทำมาหากินแล้วเพราะไม่มีเงิน แต่สุดท้ายความเห็นแก่ตัวของนายล้ำก็แปรเปลี่ยนเป็น “เห็นแก่ลูก” เมื่อได้รู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของแม่ลออต่อพ่อผู้ให้กำเนิดโดยการแสดงความรักและความภาคภูมิใจถึงแม้จะไม่เคยพบหน้ากันเลยก็ตาม

นายล้ำได้ฟังดังนั้นจึงเกิดความละอายเลยตัดสินใจที่จะไม่บอกความจริงว่าตนเป็นพ่อแท้ๆของงแม่ลออและยอมเสียสละความสุขส่วนตนโดยที่ยอมลำบากต่อไปเพื่อให้ลูกสุขสบายและไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม


พระยาภักดี นฤนาค

            พระยาภักดีเป็นเพื่อนกับนายล้ำมาแต่ก่อน และชอบผู้หญิงคนเดียวกันนั่นก็คือแม่นวลแต่แม่นวลนั้นก็ได้แต่งงานกับนายล้ำแต่ไม่พบกับความสุขอันใดเลย ก่อนที่แม่นวลจะสิ้นใจนางก็ได้ฝากฝังลูกสาวของนาง นั่นก็คือแม่ลออไว้กับพระยาภักดี ซึ่งพระยาภักดีก็ได้ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจและรักแม่ลออเหมือนลูกแท้ๆ พระยาภักดีได้อบรมสั่งสอนแม่ลอออย่างตระกูลผู้ดีและปลูกฝังให้ลูกรักและภูมิใจในตัวพ่อแท้ๆ(ซึ่งก็คือนายล้ำ)พระยาภักดีจึงรับหน้าที่กลายเป็นพ่อบุญธรรมของแม่ลออไปโดยปริยาย

          เมื่อนายล้ำต้องการที่จะแสดงตนว่าเป็นพ่อแท้ๆของแม่ลออพระยาภักดีก็ขัดขวางทุกวิถีทางเพราะเกรงว่าแม่ลออจะขายหน้าและถูกสังคมรังเกียจเมื่อรู้ว่าพ่อตนจริงๆแล้วเป็นแบบไหน ด้วยความที่พระยาภักดีเป็นคนที่ร่ำรวยในตอนแรกจึงจ่ายเงินปิดปากนายล้ำแต่นายล้ำก็ไม่ยอม ถึงขั้นยอมเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงโดยการใช้กำลังขมขู่นายล้ำ แสดงให้เห็นถึงความรักของพระยาภักดีที่มีให้กับแม่ลออแม้จะไม่ได้เป็นลูกแท้ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระยาภักดีเป็นคนที่เห็นแก่ลูกมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว


แม่ลออ

           
มีพ่อแท้ๆคือ นายล้ำ ทิพเดชะ
มีพ่อบุญธรรมคือ พระยาภักดี นฤนาค

            แม่ลออกำลังจะออกเรือนเพื่อไปแต่งงานกับนายทองคำ แม่ลออเป็นคนอ่อนโยน เรียบร้อย สุภาพ และมีมารยาทงามสมกับเป็นตระกูลผู้ดี อีกทั้งยังเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีเห็นได้จากการที่คิดว่าพ่อของตนเป็นคนดีและสมบูรณ์แบบ (จนทำให้นายล้ำเกิดความละอายใจ)


อ้ายคำ

            เป็นบ่าวของพระยาภักดี ซึ่งเป็นคนซึ่งสัตย์ ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รักเจ้านายมาก ฉลาดและดูคนเป็น เห็นได้จากตอนที่นายล้ำเข้ามาหาพระยาภักดีที่บ้าน อ้ายคำเล็งเห็นว่านายล้ำมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ อ้ายคำจึงยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วยแม้จะถูกบอกให้ไปที่อื่นก็ตาม

-------------------------------------------------------------------------
จบแล้วค่ะกับบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
เจอกันเอนทรีหน้านะคะ