วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ต้นทุนชีวิตของเราแต่ละคน


ต้นทุนชีวิต....


ต้นทุนชีวิต มาจากคำว่า Development Assets หมายถึง ต้นทุนขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจ สังคม สติปัญญาให้คนคนหนึ่งสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง

          ต้นทุนชีวิตคนเรามีไม่เท่ากัน
จะน่าภาคภูมิใจแค่ไหร ถ้าเราเกิดมามีต้นทุนชีวิตที่มีมากกว่าคนอื่น เราคงจะทำอะไรได้ง่ายขึ้น เพราะทุกอย่างถูดเตรียมเอาไว้หมดแล้ว ถ้าเราลองมองออกไปนอกบ้านเราจะเห็นว่า แต่ละคนล้วนมีความยากลำบากที่แตกต่างกันออกไป มีผู้คนมากมายบนท้องถนนที่เป็นแบบอย่างให้เราได้เห็น ทั้งคนตาบอด ขอทาน พิการ และคนจน
สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการศึกษา และการทำงาน เพราะคนพิการหรือคนตาบอด ก็ไม่สามารถที่จะทำงานแบบคนปกติได้ ส่วนคนที่มีฐานะยากจนก็ยากที่จะมีสิ่งของดีๆ อาหารดีๆมีประโยชน์ หรือแม้แต่การศึกษาที่อยู่ในขั้นสูง

เพราะต้นทุนคนเรามีไม่เท่ากัน


อะไรทำให้ต้นทุนชีวิตมีความแตกต่างกัน?
การหล่อหลอมของครอบครัว สถาบันการศึกษา ฐานะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
เกิดอะไรขึ้นถ้าต้นทุนชีวิตไม่แข็งแรง (ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูแบบละเลยของพ่อแม่)
-                   พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 
-                   ปัญหายาเสพติด
-                    ปัญหาเพศที่ ๓

ถ้าพูดว่าต้นทุนชีวิตเราต่ำกว่าคนอื่น เพราะเหตุการร้ายร้าย ไมได้แปลว่า เราจะด้อยกว่าคนอื่น 
คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน บางคนเกิดมากับต้นทุนสูง พร้อมไปทุกด้าน 
ในขณะที่คนเกิดมากับต้นทุนต่ำ  ต้องดิ้นรนทุกอย่าง
ถึงแม้ ต้นทุนของชีวิตเราอาจจะไม่เท่ากัน 
แต่ความพยายามเราสร้างได้ 

จขบ.คิดว่าตัวเองเป็นคนที่โชคดีมาก เพราะมีต้นทุนชีวิตที่ดีพอสมควร
แม้ฐานะอาจจะไม่ได้ร่ำรวยอะไรมาก แต่ก็พอที่จะได้รับการศึกษาที่ดี อาหารการกินและการดูแลที่ดี
ครอบครัวก็อบอุ่น ทั้งพ่อและแม่มีการศึกษา
ตัวเองก็ไม่ได้เกิดมาผิดปกติทางด้านใด (ไม่พิการ)

จขบ.มีทั้งทุนและโอกาสที่จะได้เรียนหนังสือ
เรามีหน้าที่แค่เรียน ไม่ต้องเหนื่อยหาเงินมาส่งตัวเองเรียน
เรามีโอกาสที่จะได้ออกไปเจอและทำอะไรมากมาย ขณะที่บางคนต้องนั่งอยู่บนรถเข็นตลอดชีวิต


            ขณะที่เรารู้สึกท้อแท้หรือไม่อยากมีชีวิตแบบนี้ ลองย้อนมองกลับไปดู

            แล้วเราจะเห็นว่ามีคนบางคน”ฝัน”ที่จะอยากมีชีวิตแบบคุณ


อ้างอิง
http://www.doctor.or.th/article/detail/11036
http://pha.narak.com/topic.php?No=58483

--------------------------------------------------------------------------------------------------


แล้วเจอกันเอนทรี่หน้าค่ะ

สวัสดี

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

นักดนตรี นักแสดง กับความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน




อยากเป็นนักดนตรี
อยากเป็นนักร้อง
อยากเป็นนักแสดง
อยากเป็นนักเขียน
อยากเป็นจิตกร
อยากเป็น...




อาชีพที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นอาชีพต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอนเตอร์เทนผู้คน
เคยสังเกตกันไหม
ว่าทำไมบางคน เป็นนักดนตรีแล้วรุ่งแต่บางคนไม่รุ่ง บางคนเป็นนักแสดงแล้วดัง บางคนไม่ดัง?
ใช่...ความสามารถก็ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนคือพวกเขาเหล่านั้นสามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้ดีแค่ไหน
การเป็นนักแสดง(ไม่ว่าจะแสดงอะไรก็แล้วแต่ เช่น ดนตรี )              
ไม่ใช่แค่การเล่นตามบทบาที่ตัวเองได้รับ หรือ แค่เล่นตามโน้ต
มันต้องเข้าใจอารมณ์ของตัวละคร หรือแม้กระทั่งของเพลง




นักดนตรีหรือนักแสดงบางคนมัวแต่ไปห่วงภาพพจน์ของตนเอง(มากเกินไป)
จนทำให้คนดูรู้สึกว่าอีนี่มัน เฟค (ไม่เจ๋งจริง)
ร้อยทั้งร้อยของคนดูเขาอยากมาดูการแสดงที่เป็นการแสดงจริงๆ ไม่ใช่อยากมาดูคนหล่อหรือคนสวย
เขาไม่ได้ต้องการอาหารสายตา
พวกเขาต้องการอาหารของหู และอาหารของหัวใจ(ความรู้สึก)
นักร้อง นักแสดง หรือนักดนตรี ที่เก่งๆบางคน

ไม่เห็นจะต้องหน้าตาดีเลย

สิ่งที่นักร้อง นักแสดง และนักดนตรีต้องจริงๆ คือการทำให้คนฟังหรือคนดูมีความสุข

ซึ่งการมีหน้าตาที่ดีไม่ได้ตอบโจทย์นั้น



ขอยกตัวอย่างของจขบ.ละกัน
จขบ.อยากเป็นนักดนตรี
แต่ตอนนี้มีปัญหาอยู่ที่ว่า เป็นคนที่ไม่อินกับอะไรเลย ซึ่งการที่ไม่อินกับอะไรเลยเนี่ยลำบากแน่ในการที่จะเป็นนักดนตรี ครูเคยบอกเอาไว้ว่า “นักดนตรีที่ดี ไม่ใช่แค่เล่นตามโน้ต มันคือการถ่ายทอดความรู้สึกของคนแต่งออกมาให้คนอื่นรับรู้”
ถ้าเราไม่รู้จักอารมณ์ หรือความหมายของเพลง เราก็จะสื่อมันออกมาไม่ได้

แล้วจะแก้ยังไงดีละ?

-              -     ฝึกการทำความเข้าใจกับทุกๆเรื่อง คอยถามว่า ทำอย่างนี้ไปเพื่ออะไร เราจะได้ประโยชน์อะไรจากมัน มันจะ                เปลี่ยนแปลงอะไรเราได้บ้าง

-                   -  ถ้าจะเล่นดนตรี(ที่ไม่มีเนื้อร้อง)ลองดูชื่อผู้แต่งแล้ว หาประวัติอ่านดู จะได้ทำความเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ใน             ตอนนั้น เข้าใจว่าทำไมเขาถึงแต่งเพลงนี้ออกมา (บริบทสังคมอาจข่วยทำให้ง่ายขึ้น)
-          
          - แสดงความรู้สึกแบบตรงไปตรงมา ไม่โกหกตัวเอง คอยถามตัวเองเสมอว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร
โกรธ เศร้า เสียใจ รัก ผิดหวัง ท้อแท้ แล้วเราจะรู้ว่าความรู้สึกบนโลกนี้มันมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ที่เรารู้จัก อาจจะมีไม่ถึง 30 ด้วยซ้ำ (อาจจะไม่ต้องถามตัวเองอย่างเดียวลองสังเกตจากพฤติกรรมคนอื่นเวลาเราเข้าไปพูดคุยด้วย ลองคิดดูว่า เขารู้สึกอย่างไร)  ความรู้สึกเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน และเข้าใจยาก (เพราะมันเป็นความรู้สึกน่ะสิ ถึงได้เข้าใจยาก คนเราบางครั้งยังไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเองเลย)

ถ้าเราจริงใจกับตัวเอง เราค่อยๆเรียนรู้ประเภทของความรู้สึก รู้สึกยังไงก็เล่นออกมาอย่างนั้น ลองดูสิเวลาที่เรามีความรู้สึกต่างกันแล้วเราถ่ายทอดมันออกมา เพลงที่เล่นมันมีความแตกต่างแม้จะเล็กน้อยแต่มันก็แตกต่าง ถ้าเรารู้จักความรู้สึกแล้วละก็เราก็สามารถความคุมมันได้ตามใจนึก(ตามเพลง)

เช่น

ถ้าเพลงนี้มีอารมณ์เศร้าและหดหู่ เราก็สามารถทำอารมณ์ของเราให้เป็นไปตามเพลงได้เพราะเรารู้จักความรู้สึกของตัวเองที่กำลังเผชิญกับความเศร้าและหดหู่ แล้วสามารถถ่ายทอดออกมาได้


ถึงมันจะเป็นเรื่องที่ยาก(มาก)แต่เราต้องทำได้
เพราะฉันไม่อยากเป็นนักดนตรีที่ทำได้แค่เล่นตามโน้ต


แต่เล่นกันความรู้สึกคนไม่เป็น....


Upcoming Street Musician.jpg

แค่อยากให้คนมีความสุข...