วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

The Legend of 1900 “จุดสิ้นสุดของโลกไปนี้...อยู่ตรงไหน”

The Legend of 1900“จุดสิ้นสุดของโลกไปนี้...อยู่ตรงไหน”

          จูเซปเป้ ทอนาทอเร่ ผู้กำกับหนังอิตาลีชื่อดังจากเรื่อง Cinema Paradiso ได้มาทำงานในฐานะของผู้กำกับและผู้เขียนบทในเรื่อง The Legend of 1900 ทั้งหมดเป็นเรื่องราวของชายหนุ่มคนหนึ่งเกิดและโตในเรือเดินสมุทรเวอร์จิเนีย ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต โดยที่ไม่เคยก้าวขึ้นไปยืนบนแผ่นดินสักครั้ง

          ช่วงปี ค.ศ. 1900 (ช่วงเวลาในภาพยนตร์) เป็นช่วงที่อเมริกาเรื่องเข้ามามีความสำคัญกับสังคมโลก และการเร่งพัฒนาในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นอุสาหกรรม ธุรกิจบันเทิง ดนตรี(แจ๊ส) การอพยพของชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยในอเมริกาเพื่อเริ่มชีวิตใหม่ที่มีความมั่นคง โดยการใช้เรือเดินสมุทรข้ามทะเลมา

          ตัวเอกของเรื่องนี้คือนาย”พันเก้า” ผู้ที่เกิดบนเรือ”เวอร์จิเนีย” เรือเดินสมุทรที่พาผู้อพยพจากทางฝั่งยุโรปเข้ามาในอเมริกา นายพันเก้าแสดงทักษะความสามารถทางดนตรีออกมาตั้งแต่อายุแปดขวบ เขาสามารถเล่นดนตรีได้โดยที่ไม่ต้องมีใครสอน เวลาผ่านไปนายพันเก้าได้เป็นนักดนตรีอยู่บนเรือเวอร์จิเนียและไม่เคยก้าวเท้าลงจากเรือเลยสักครั้ง หลายคนคงสงสัยว่าจินตนาการของนายพันเก้านำมาจากไหน จินตนาการอะไรที่ทำให้เขาเล่นเปียโนได้ยอดเยี่ยมและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้ดีขนาดนั้น เมื่อทั้งชีวิตไม่เคยขึ้นจากเรือ นายพันเก้ารับรู้เรื่องราวจากบนบกผ่านการอ่านหนังสือเล่มแล้วเล่มเล่า เรียนรู้จากผู้คนมากมายที่ผ่านเข้ามากับเรือในแต่ละเที่ยวของการเดินทางไม่ว่าจะเป็นสายตาหรือคำพูดของใครสักคน นายพันเก้ารู้จักที่จะฟัง รู้จักการอ่านทุกสัญลักษณ์ที่ทุกคนนำติดตัวมา ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ เสียง กลิ่น หรือผืนดิน

“แต่ละครั้งที่เขาเล่นดนตรี...เขาเดินทางไปในที่ที่ต่างกัน มันเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ ด้วยเหตุว่าเขาไม่เคยขึ้นจากเรือแม้เพียงสักครั้ง แต่ก็เหมือนกับว่าเขาเคยไปเห็นมาแล้ว แน่นอนเขาไม่เคยไปยังสถานที่เหล่านั้น” (ตัดมาจากหนังสือเรื่องโนเวนเชนโต้)

ครั้งหนึ่งนายพันเก้าเคยตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าตัวเองจะขึ้นจากเรือเวอร์จิเนียไปบนบกแต่สุดท้ายก็หันหลังกลับเข้าเรือและบอกกับตัวเองว่าจะไม่ขึ้นบกอีกตลอดที่ตนยังมีชีวิตอยู่ ก่อนวาระสุดท้ายของชีวิตนายพันเก้าบอกเล่าถึงเหตุผลที่ทำให้เขากลับเข้าเรือในวันนั้นว่า ไม่ใช่เพราะสิ่งที่มองเห็นหรอก แต่เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นต่างหากที่ทำให้เขาหยุดชะงักในวันนั้น นายพันเก้าพยายามมองหาจุดสิ้นสุดในเมืองใหญ่ที่อยู่ตรงหน้าแต่ก็หาไม่พบ ความกลัวจึงเกิดขึ้นมาในใจของนายพันเก้า ตลอดเวลาที่อยู่บนเรือลำนี้ เขาก็มีความปรารถนาเช่นเดียวกับคนอื่นๆที่ผ่านเข้ามาในเรือแต่ทว่าความปรารถนานั้นมีขอบเขตแค่หัวเรือถึงท้ายเรือเท่านั้น

“หากเปรียบกับเปียโนสักหลัง คีย์เปียโนมีที่เริ่มต้นและมีที่สิ้นสุด ทั้งหมดมีแปดสิบแปดคีย์ ถ้าผู้เล่นไม่มีที่สิ้นสุด ดนตรีที่เล่นก็จะไร้จุดสิ้นสุด ซึ่งต่างจากเปียโนชีวิตบนผืนแผ่นดิน ที่เบื้องหน้ามันมีคีย์เปียโนหลายพันล้านคีย์ที่ไม่มีวันหมดสิ้น กับคีย์เปียโนแบบนั้นไม่มีดนตรีอะไรที่เราจะเล่นได้  คงเหมือนกับถนนหนทางอันมากมายในโลกใบนี้ เราจะเลือกถนนสักสายได้อย่างไร หรือถ้าจะเลือกผู้หญิงสักคน บ้านสักหลัง ที่ดินสักผืน ทิวทัศน์ไว้มอง วิธีที่จะตาย โลกตรงนั้นทั้งหมด ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงตรงไหนนี่คือคำพูดของนายพันเก้าที่กล่าวถึงเมืองใหญ่ที่ไร้จุดสิ้นสุด

นายพันเก้ามีความผูกพันกับเรือเวอร์จิเนียมาตั้งแต่เกิดทำให้เป็นเรื่องยากที่ทำให้เขาตัดใจขึ้นจากเรือได้ เขาไม่ใช่คนที่ไม่กล้าตัดสินใจอะไรในชีวิตเพราะเห็นว่ามันเป็นเรื่องยาก นายพันเก้าเป็นคนที่มีนิสัยที่ไร้เดียงสาเหมือนเด็กทำให้หวาดเกรงต่อสถานที่ใหม่ เขาต้องการกรอบหรือขอบเขตที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ไม่ชอบความวุ่นวาย และอเมริกาไม่ใช่สถานที่แบบนั้น อเมริกาเป็นสถานที่ที่มีแต่ความอิสรเสรีและความวุ่นวาย

ทุกคนมีโลกที่เหมาะสมลงตัวกับชีวิตตัวเองกันไปคนละแบบ โลกใบที่ไม่อาจวัดด้วยคำว่า ดีกว่า หรือ แย่กว่าสำหรับคนอื่น สำหรับนายพันเก้าโลกที่เหมาะสมและลงตัวกับชีวิตของเขาที่สุดก็คงจะเป็นชีวิตบนเรือเวอร์จิเนีย กับเปียโนหนึ่งหลังแปดสิบแปดคีย์ที่มีจุดสิ้นสุด 


วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

Taken สู้ ไม่รู้จักตาย (Where is my daughter?)


Taken สู้ ไม่รู้จักตาย (Where is my daughter?)

            คิม ลูกสาวคนเดียวของ ไบรอัน อดีต CIA ถูกลักพาตัวขณะอยู่ในปารีสโดยแก๊งค้ามนุษย์ ไบรอันมีเวลาเพียง96ชั่วโมงเท่านั้นที่จะพาลูกสาวกลับมาก่อนที่เขาจะไม่ได้เจอเธออีก

            ในตอนแรกของหนังจะพูดถึงชีวิตของไบรอันอดีต CIA ที่ทำงานเพื่อชาติจนเมียต้องหอบลูกหนีไปแต่งงานใหม่ แต่ไบรอันก็ยังรักและห่วงลูก เมื่อลูกโตเป็นสาวไบรอันจึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อคอยดูแลลูกสาวคนเดียว(คิม)แบบห่างๆ จนกระทั่งวันหนึ่งลูกมาขอให้พ่อเซ็นใบอนุญาตเพื่อที่จะไปปารีสกับเพื่อน ตอนแรกไบรอันก็ไม่ยอมเพราะคิดว่าปารีสเป็นที่ที่อันตราย แต่สุดท้ายก็เซ็น แต่การตัดสินใจเซ็นใบอนุญาตคราวนี้อาจเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของไบรอัน เพราะคิมและเพื่อนของเธอถูกคนในแก๊งค้ามนุษย์ลักพาตัวขณะคุยโทรศัพท์กับไบรอัน และคนร้ายก็เป็นฝ่ายถือโทรศัพท์อยู่ ไบรอันเลยพูดประโยคเด็ดเพื่อเปิดฉากความสนุกของหนังออกมา

ฉันไม่รู้หรอกแกเป็นใครฉันไม่รู้หรอกว่าแกต้องการอะไร...
ถ้าแกทำเพื่อเรียกค่าไถ่ ฉันบอกได้เลยว่าไม่มีเงิน...
แต่ฉันมีทักษะบางอย่าง...ทักษะที่ฉันสะสมมานานในอาชีพฉัน...ทักษะที่จะทำให้ฉันกลายเป็นฝันร้ายสำหรับพวกแก
ถ้าแกคืนลูกสาวฉันตอนนี้...ฉันจะไม่เอาเรื่องแก
แต่ถ้าแกไม่...ฉันจะตามแก จะเจอแก และจะฆ่าแก
และคนร้ายก็พูดแค่ว่า Good Luck 

          เมื่อจบตรงนี้ขอบอกเลยหนังมันส์มาก ลูกสาวคนเดียวโดนแก๊งค้ามนุษย์ลักพาตัวไปทั้งทีมีหรือที่คุณพ่อจะยอมปล่อยง่ายๆ ไบรอันได้นำทักษะและประสบการณ์ที่ตัวเองสะสมขณะทำงานใน CIA ออกมาใช้เพื่อตามหาตัวลูก ยอดคุณพ่อนายไบรอัน ทั้งเก่ง ทั้งโหด และแค้นจับจิตสุดๆ ความรู้สึกรักลูกห่วงลูกและแค้นคนที่จับตัวลูกสาวเขาไปถูกถ่ายทอดผ่านฉากแอ็คชั่นไม่ว่าจะเป็นด้วยมือเปล่าหรือด้วยปืนประสบการณ์มากทำให้ไบรอันเกิดความเชี่ยวชาญ รวมถึงบุคลิกส่วนตัวที่เป็นคนช่างสังเกต และมีไหวพริบทำให้ไบรอันได้หลักฐานที่ใช้ในการหาตัวคิมมามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อถึงปารีสครั้งแรกไบรอันมีหลักฐานที่ใช้ในการตามหาตัวคิมแค่สองอบ่างเท่านั้น นั่นคือ บทสนทนา(ข้อความเสียง)ที่บันทึกไว้ครั้งสุดท้ายก่อนที่คิมจะโดนลักพาตัวและที่อยู่ของคิมในตอนนั้นเท่านั้น


            ไม่ได้หมายความว่าหนังมีดีแค่ฉากต่อสู้ เรื่องราวความรักของพ่อที่มีต่อลูกก็ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านหนังเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน ม้ว่าบางครั้งความห่วงใยของไบรอันเป็นเหมือนเป็นการปิดกั้นโอกาสและอิสระของลูก แต่นั่นคือความห่วงใยจากคนที่มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่า ตอนที่คิมโดนจับตัวไปไบรอันตัดสินใจไปปารีสทันทีโดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้น แสดงให้เห็นถึงความรักที่ยิ่งใหญ่ของพ่อที่มีให้กับลูก ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกมีความสุข เหมือนกับไบรอันที่ไม่ได้เรียกร้องขอให้คิมมาอยู่ด้วยเพราะรู้ว่าในตอนนี้คิมมีความสุขดีอยู่แล้ว


นิทานซ้อนนิทานคืออะไร


บทวิเคราะห์เรื่องนิทานซ้อนนิทาน

นิทานซ้อนนิทานเป็นลักษณะการแต่งเรื่องที่พบในนิทานเวตาล พันหนึ่งราตรี นักวิชาการบางคนให้ความเห็นว่านิทานเอเชียโบราณนี้อาจได้รับอิทธิพลจากกรีกที่ทำสงครามขยายดินแดนและทำการค้าขายกับโลกทางฝั่งตะวันออก (เอเชีย) ลักษณะของนิทานซ้อนนิทานทั่วไปจะเป็นการแทรกนิทานเรื่องย่อยเข้าไปอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่ แต่ไม่ได้หมายความว่านิทานที่มีเรื่องราวหลายเรื่องหลายตอนจะเป็นนิทานซ้อนนิทานเสมอไป ต้องเป็นนิทานที่มีปริศนาปิดท้ายนิทานย่อยภายในเรื่องหรือเป็นนิทานที่มีการทิ้งตอนไว้เป็นปมให้กับเรื่องต่อไปเพื่อทำการเชื่อมโยงระหว่างเรื่อง แบบนี้ถึงเรียกได้ว่าเป็นนิทานซ้อนนิทาน

ทำไมนิทานซ้อนนิทานถึงเป็นที่นิยมถ้ามองในมุมมองของผู้แต่ง การแต่งนิทานแนวนี้จะเป็นเหมือนการแสดงฝีมือลีลาในการแต่ง แสดงระดับความรู้ที่ตัวผู้แต่งมี เพราะนิทานซ้อนนิทานเป็นรูปแบบการแต่งเรื่องชั้นสูง มีรูปแบบการแต่งที่ค่อนข้างยาก ซับซ้อนหลายชั้น ผู้แต่งต้องมีความสามารถในการจัดลำดับเรียบเรียงเรื่อง การวางโครงเรื่อง การวางปมของนิทานย่อยที่ต้องสอดคล้อยคล้อยตามไปตามนิทานเรื่องใหญ่ ส่วนในด้านของผู้อ่านกัน เนื้อเรื่องที่มีความซับซ้อนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นิทานซ้อนนิทานกลายเป็นที่นิย ความสนุกสนานที่เกิดขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อเรื่องส่งผลให้เรื่องไม่น่าเบื่อ ปมปัญหาบางอย่างได้ถูกทิ้งไว้ตรงตอนจบนิทานย่อยทุกครั้ง(เพื่อเตรียมขึ้นเรื่องใหม่) ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกค้างคา(จึงอ่านต่อ) การปิดท้ายนิทานด้วยปริศนาจะส่งผล ทำให้ผู้อ่านได้ความสนุกสนานจากการคิดตามและการพิจารณาถึงเหตุผลของคำตอบที่เกิดขึ้นว่ามันสอดคล้องกับเนื้อเรื่องอย่างไร

การเปรียบเทียบรูปแบบของนิทานซ้อนนิทานทั้งสามเรื่องที่โด่งดังไปทั่วโลก ได้แก่ นิทานเวตาลปัญจวิงศติของอินเดียโบราณ นิทานพันหนึ่งราตรีของทางฝั่งอาหรับ และพระสรรพสิทธิของไทย ทั้งสามเรื่องนี้มีลักษณะเป็นการแต่งแบบนิทานซ้อนนิทานเหมือนกัน ถ้าพูดถึงความแตกต่าง เรามาเริ่มที่นิทานเวตาลเทียบกับพันหนึ่งราตรีกันก่อน ทั้งสองเรื่องมีรูปแบบการแต่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน นิทานเวตาลจะเป็นการซ้อนแบบใช้คำถามปริศนามาใช้ในการปิดเรื่องย่อย ทำให้ผู้อ่านได้คิดตามหลังอ่านเรื่องย่อยที่แทรกอยู่จบ แต่สำหรับพันหนึ่งราตรีจะมีรูปแบบการเล่าเรื่องแบบจบเป็นเรื่องๆ ตอนท้ายของเรื่องย่อยทุกเรื่องในพันหนึ่งราตรีจะมีปมหรือตัวละครที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่เพื่อปูพื้น(เชื่อมโยง)ไปในเรื่องย่อยเรื่องต่อไป อย่างไรก็ตามทั้งสองเรื่องนี้มีจุดที่เหมือนกันอยู่หนึ่งจุด นิทานย่อยเกือบทุกเรื่องจะสอดแทรกคำสอน ข้อคิดต่างๆที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ส่วนนิทานเวตาลกับพระสรรพสิทธิสองเรื่องนี้เป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ปริศนาคำทายปิดท้าย เป็นเชิงคิดวิเคราะห์ นอกจากรูปแบบการแต่งที่เหมือนกันแล้วยังมีเรื่องของลักษณะนิสัยตัวละครที่คล้ายกันมาก เวตาลและพระสรรพสิทธิที่เป็นคนถามปริศนามีลักษณะเป็นคน(ตัว)ฉลาด มีไหวพริบ ทั้งคู่รู้จักเลือกใช้คำถามเพื่อใช้หลอกล่ออีกฝ่ายให้ติดกับ เวตาลถามคำถามหลอกล่อให้พระวิกรมาทิตย์พูด ส่วนพระสรรพสิทธิก็ถามคำถามหลอกล่อให้นางสุพรรณโสภาเอ่ยปากออกความเห็นเช่นกัน แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ตัวละครทั้งสองตัวนี้หลอกล่อสำเร็จคือ การอ่านคนเป็น พระวิกรมาทิตย์และนางสุพรรณโสภาก็มีลักษณะนิสัยร่วมกันอย่างคือเป็นคนฉลาดและอดไม่ได้ที่จะแสดงออกมาว่าตัวเองฉลาด มีความรู้ จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะเวตาลและพระสรรพสิทธิเอาชนะทั้งสองคนนี้ด้วยคำถาม

เนื้อหาจากย่อหน้าข้างบนทำให้เราเดาได้ไม่ยากว่ารูปแบบการแต่งของพระสรรพสิทธิกับพันหนึ่งราตรีต้องมีความแตกต่างกันแน่นอน (รูปแบบของพันหนึ่งราตรีจะค่อนข้างแปลกแยก) อย่างไรก็ตามพระสรรพสิทธิกับพันหนึ่งราตรีก็ไม่ได้ต่างกันทั้งหมด มีเรื่องของตัวเอก(พระสรรพสิทธิและนางสุนตลานาเชเฮอร์ซาเด)ที่ใช้ความฉลาดของตัวเองให้เกิดประโยชน์ เป็นจุดร่วมของสองเรื่องนี้


            ในปัจจุบันได้มีหนังสือและภาพยนตร์จำนวนไม่น้อยที่นำลักษณะการเล่าเรื่องแบบนิทานซ้อนนิทานมาใช้ทางผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างงานเขียนของโทลคีน (J. R. R. Tolkien) เรื่อง เดอะ ฮอบบิท (The Hobbit) ที่ถูกนำมาทำเป็นหนังฟอร์มยักษ์ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็คสัน (Peter Jackson) ถามว่าตรงไหนหรือที่เป็นรูปแบบของนิทานซ้อนนิทานที่โทลคีนเอามาใช้ ถ้าใครเคยดู เดอะ ฮอบบิทภาคแรก จะมีฉากสำคัญฉากหนึ่งที่ นายบิลโบ แบ็กกิ้น ตกลงมาในถ้ำ เก็บแหวนได้ และเจอกับกอลลั่ม(ที่กำลังจะจับบิลโบกินเป็นอาหาร) บิลโบออกอุบายเล่นทายปริศนากับกอลลั่ม โดยมีข้อตกลงว่าถ้าหากกอลลั่มชนะบิลโบก็จะยอมถูกกิน แต่ถ้าบิลโบชนะกอลลั่มต้องปล่อยเขากลับไปหาเพื่อนๆคนแคระ ช่วงของปริศนาที่บิลโบสลับกันถามกับกอลลั่มช่วงนี้คือช่วงที่โทลคีนยืมรูปแบบของนิทานซ้อนนิทานมาใช้ เห็นได้ว่าเป็นการซ้อนเรื่องด้วยปริศนาคำทายที่ชวนให้คิดตาม เป็นการดำเนินเรื่องด้วยคำถาม จะขอยกตัวอย่างปริศนาที่บิลโบและกอลลั่มใช้เล่นพนันกันมาให้ดูกัน อะไรเอ่ยมีรากแต่ไม่มีใครเห็นสูงกว่าต้นไม้ สูงสูงขึ้นไปแต่ไม่เคยโต(คำตอบคือภูเขา) อะไรเอ่ยไม่มีเสียงแต่ร้องได้ ไม่มีปีกแต่บินได้ ไม่มีฟันแต่กัดได้ ไม่มีปากแต่บ่นพึมพำได้ (คำตอบคือลม) อะไรเอ่ยทุกอย่างมันกินหมดไม่ว่าจะเป็นนก สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ กินกระทั่งเหล็กแข็ง กัดกระทั่งเหล็กอ่อน หินแข็งๆ ก็เอามาบดกิน ฆ่ากษัตริย์ ทำลายเมือง ทลายกระทั่งภูเขาสูงๆ ให้พังลง (คำตอบคือเวลา) รู้สึกไหมว่าตรงนี้มีส่วนคล้ายกับนิทานเวตาล ถ้าเราลองหาข้อมูลเชิงลึกอีกสักนิดเราจะพบว่าโทลคีนได้หยิมยืมลักษณะการแต่งนิทานซ้อนนิทานของเวตาลมาใช้ ซึ่งก็คือรูปแบบการแต่งโดยใช้ปริศนาคำทายมาช่วยในการดำเนินเรื่อง ลองนึกดูว่าโทลคีนต้องอ่านหนังสือกี่เล่มกว่าจะได้ฮอบบิทมาหนึ่งเรื่อง หนังสือที่โทลคีนอ่านแน่นอนว่าจะต้องเป็นหนังสือที่มีคุณภาพ มีไอเดียหรือรูปแบบการแต่งที่น่าสนใจ ซึ่งในจุดนี้นิทานเวตาลมีครบ โทลคีนเลือกหยิบหนังสือที่เป็นต้นแบบของนิทานซ้อนนิทานเพื่อนนำมาประยุกต์ใช้กับงานเขียนของตัวเอง ซึ่งเขาก็ทำได้ดี

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

สรรพสิทธิคำฉันท์ (บทวิเคราะห์)

สรรพสิทธิคำฉันท์ นิทานซ้อนนิทานของไทย

นิทานซ้อนนิทานเป็นลักษณะการแต่งเรื่องที่พบบ่อยในวรรณคดีสันสกฤตโบราณ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับนิทานเวตาลและหนึ่งพันราตรี รูปแบบการแต่งแบบนิทานซ้อนนิทาน ไม่ได้มีแค่วรรณคดีสันสกฤตเท่านั้นที่ใช้ เรื่องสรรพสิทธิคำฉันท์ของไทยเองก็นำการแต่งนี้มาประยุกต์ใช้ด้วยเช่นกัน

การอ่านเรื่องสรรพสิทธิ์นี้ ผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนว่าเป็นนิทานที่ค่อนข้างเก่า อาจจะมีวิถีการดำเนินชีวิต หรือบทบาทของชายหญิงที่แตกต่างจากปัจจุบันทำให้เรารู้สึกขัดแย้ง อีกส่วนคือภาษาที่ค่อนข้างเก่า รวมถึงตัวฉันท์ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่อง คำบางคำอาจไม่มีใช้ในปัจจุบันจึงยากแก่การตีความ บางครั้งต้องหยุดคิดเล็กน้อยขณะอ่านเพื่อทำความเข้าใจ

            เรื่องราวของพระสรรพสิทธิเริ่มต้นที่ พระเจ้าอุรุภราชกษัตริย์แห่งเมือง “คิรีพัชร”ทรงมีพระราชธิดาองค์หนึ่งนามว่า นางสุพรรณโสภา ความงามของนางนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ พระเจ้าอุรุภราชเกรงว่านางไม่มีคู่ครองเนื่องจากนางไม่ยอมพูดกับชายใดเลยแม้กระทั่งบิดา พระองค์จึงสร้างข้อตกลงว่า ถ้าใครทำให้นางสุพรรณโสภายอมพูดด้วยได้จะยกนางสุพรรณโสภาให้อภิเษกด้วย แต่จนแล้วจนเล่าก็ไม่เคยมีผู้ใดทำสำเร็จ

พระสรรพสิทธิตัดสินใจเดินทางไปเมืองคิรีพัชรทันทีที่ได้ยินข่าวลือเรื่องรูปโฉมของนางสุพรรณโสภา เมื่อไปถึง พระเจ้าอุศุภราชแห่งกรุงคิรีพัชรก็ต้อนรับพระสรรพสิทธิอย่างแขกเมืองผู้มีเกียรติ ตกดึกพระสรรพสิทธิก็ได้เข้าไปยังเรือนหลวงของนางสุพรรณโสภาโดยพาอำมาตย์คนหนึ่งชื่อ จิตรเสน ติดพระองค์เข้าไปด้วย

            ในยามแรกพระสรรพสิทธิได้ถอดดวงจิตของจิตรเสนไปไว้ในไม้ประทีป พระองค์ได้ทำทีเป็นเล่านิทานให้ดวงจิตของจิตรเสนฟัง และได้ถามปัญหาจากนิทาน เมื่อดวงจิตรของจิตรเสนตอบคำถามผิด นางสุพรรณโสภาอดไม่ได้ที่จะแย้งด้วยคำตอบที่ถูก ทุกครั้งที่เล่านิทานพระสรรพสิทธิจะค่อยๆย้ายดวงจิตไปใกล้นางสุพรรณโสภามากขึ้นเรื่อยๆ จากไม้ประทีปไปขาเตียง ผ้าห่ม และหมอนของนางสุพรรณโสภาตามลำดับ พอถึงรุ่งเช้าพระสรรพสิทธิจึงได้อภิเษกกับนางสุพรรณโสภา

ข่าวการอภิเษกระหว่าพระสรรพสิทธิและนางสุพรรณโสภาแพร่สะพัดไปถึงกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ที่เคยมาสู่ขอนางสุพรรณโสภาแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งสามจึงจัดทัพมาล้อมเมืองคิรีพัชรไว้เพื่อหมายจะชิงนาง พระสรรพสิทธิได้ออกไปทำการสู้ศึกจนได้ชัยชนะ  เวลาผ่านไปสองปีพระสรรพสิทธิก็คิดถึงพระมารดาจึงขอพระเจ้ากรุงคิรีพัชรกลับ อลิกนคร พร้อมกับนางสุพรรณโสภา คืนหนึ่งขณะที่พระสรรพสิทธิและนางสุพรรณโสภากำลังพักแรมอยู่ในป่า ได้มียักษ์ตนหนึ่งชื่อ“กาลจักร” ลักพาตัวนางสุพรรณโสภาไปยังเมือง(เขา)กาฬกูฏ ของตน แต่ด้วยอำนาจความซื่อสัตย์ของนางสุพรรณโสภาที่ซื่อตรงต่อพระสรรพสิทธิทำให้กาลจักรไม่สามารถทำอะไรนางได้

            เมื่อพระสรรพสิทธิตื่นขึ้นมาตอนรุ่งเช้าไม่เห็นนางสุพรรณโสภาก็เสียใจเป็นอันมากจึงออกตามหานาง จนกระทั่งรู้ว่านางโดนยักษ์กาลจักรจับตัวไป พระสรรพสิทธิได้ต่อสู้กับกาลจักรและเป็นฝ่ายชนะ จึงพานางสุพรรณโสภากลับถึงเมืองอลิกนครได้อย่างปลอดภัย เมื่อถึงเวลาที่พระสรรพสิทธิได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงรวมเมือง อลิกนครกับคิรีพัชรให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน ทั้งพระสรรพสิทธิและนางสุพรรณโสภาต่างก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

            หลังจากที่ได้อ่านนิทานเรื่องนี้แล้วจะเห็นได้ว่าพระสรรพสิทธิเป็นคนที่ฉลาด ไหวพริบดีเพราะพระองค์รู้จักเลือกวิธีการที่จะทำให้นางสุพรรณโสภาพูดกับตน โดยใช้ดวงจิตของจิตรเสนเป็นสื่อกลาง และด้วยความที่พระสรรพสิทธิรู้ว่านางสุพรรณโสภาเป็นคนฉลาดจึงคาดเดาได้ไม่ยากว่า เมื่อพระองค์ถามคำถามกับดวงจิตแล้วดวงจิตตอบผิดหรือตอบไม่ตรงใจนาง จึงเป็นธรรมดาที่นางสุพรรณโสภาจะต้องโต้แย้งขึ้นมา (นิสัยคล้ายกับพระวิกรมาทิตย์ในนิทานเวตาล)

            ผู้แต่งได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่องพระนลมาใช้ตอนที่เกิดสงครามชิงนางเพราะความเจ็บใจของกษัตริย์ที่ไม่สามารถเอาชนะใจนางสุพรรณโสภาได้ พระนลเองก็ไม่ใช่เรื่องเดียวที่แฝงอยู่ในสรรพสิทธิคำฉันท์ รามเกียรติเองก็มีเช่นกัน เห็นได้จากตอนที่ยักษ์กาลจักรได้ลักพาตัวนางสุพรรณโสภาไปไว้ที่เมืองของตนแล้วพระสรรพสิทธิต้องตามไปช่วยนาง อันที่จริงเรื่องราวของพระสรรพสิทธิน่าจะจบได้ตั้งแต่ที่พระสรรพสิทธิได้อภิเษกกับนางสุพรรณโสภาแล้ว แต่ผู้แต่งยังเลือกที่จะยืดเรื่องออกไปโดยใส่โครงเรื่องที่คล้ายกันจากวรรณคดีที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อเป็นการแสดงความรู้ ความสามารถในการประพันธ์เรื่องของตนให้ดูมีหลักเหตุผลรับรอง

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

Energy Article

Why do we need to conserve energy?
Everyone scare of global warming. Someone said Global warming can be slowed down, and stopped when we conserve energy. But why we need to save energy and how energy is relates to global warming? I will give you the answers in this essay below. So, let’s start now!


First we should know ‘What is energy?’ Energy is the source usable power. We often use energy to create new technology. Energy sources can be divided into two groups, renewable and nonrenewable. Renewable energy sources include; solar energy (from the Sun), wind energy, hydropower energy ( from water) and geothermal energy (from heat inside the earth). Nonrenewable energy source are; fossil fuels — oil, natural gas, and coal. (These sources came from fossil) which stay underground the Earth for millions and millions years. Another kind of nonrenewable energy source is Uranium (element). We use both of energy sources to generate the electricity in our house, office, schools, and factories. Gasoline and Natural gas (most of us use for cooking) are made from nonrenewable energy source.

Credit: http://clilenergies.wikispaces.com/

See? Most of energy comes from natural resources. When we burn these resources it create carbon diovide which generate air pollution. Actually air pollution always bring toxic that not good for our body, it causes cancer. The worst thing that could happen when we burn too much natural resource is “Global Warming”. Energy production is so harmful to the environment. What we can do is save energy for reducing such harm and save our world. This is the first reason why we should conserve the energy. There is a limitation of nonrenewable energy sources. Because one day, the mines will be empty and drilling pipes will be dry out.


If we don’t have energy what will happen? All forms of transportation like cars to airplane use energy. And because of this, I can tell you that energy is a part of civilization. Without transportation, trade is impossible. Also we need energy (Electrical) generate electricity. If we don’t have energy, we will not be able to use electricity. We must be in trouble.

no energy

So, how can we conserve energy? There are many sources on website that give us ideas for what can we do to save energy. Here are a few ideas. Change your travel behavior, use public transportation. If your destination isn’t too far, you may walk or ride a bicycle instead. Adjust your habit, such as turning off lights and electrical appliances when you are not using them. You can also use energy-saving light bulbs.

Credit : google.com

When you save energy you not only save your money but you also reduce the demand of nonrenewable resources such as fossil fuel. What kind of world do we want to leave to our children’s children? If we continue to use energy at our present rate, all oil and natural gas will be gone. How hard life is when world don’t have any energy?

save energy save money



‘Save World…Save Life…’

Credit:Google.com



วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตำนานไฟล้างโลก คติความเชื่อของพราหมณ์ฮินดู



ตำนานไฟล้างโลก


                  ตำนานการอวสานของโลกมีมากมายหลากหลายรูปแบบ เช่น ตำนานน้ำท่วมโลกของศาสนาคริสต์ การเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงจนโลกแตกออกเป็นสองส่วนจากการคาการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ทางด้านศาสนาพราหมณ์ฮินดูก็มีความเชื่อเรื่องจุดจบของโลกเช่นกัน


                  การล้างโลกด้วยไฟปรากฏอยู่ในคติความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู เมื่อโลกเต็มไปด้วยคนชั่วไร้คุณธรรม(ตกอยู่ในความเสื่อม) ดวงตาที่สามขององค์พระศิวะ(เทพแห่งการทำลายตามความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู)จะเปิดออกพร้อมกับไปบรรลัยกัลป์ที่เผาโลกจนสูญสิ้น จากนั้นเป็นหน้าที่ของพระพรหมที่สร้างโลกขึ้นมาใหม่


                  ในไตรภูมิพระร่วงและลิลิตองค์การแช่งน้ำมีเรื่องราวการล้างโลกด้วยไฟปรากฏให้เห็นอยู่เช่นกัน กล่าวว่าก่อนจะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ไหม้โลกนั้นได้เกิดเหตุประหลาดขึ้นก่อน จากเดิมที่เรามีดวงอาทิตย์เพียงหนึ่งดวงก็จะเพิ่มขึ้นกลายเป็นเจ็ดดวง แหล่งน้ำทุกชนิดบนโลกเหือดหายเพราะความร้อนจากดวงอาทิตย์ แม้กระทั่งน้ำในมหานทีสีทันดร มหาสมุทรทั้งเจ็ดที่อยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ(เรียงสลับกับเขาสัตบริภัณฑ์)ยังแห้งขอด เหล่าพญาปลาทั้งเจ็ดที่แยกอยู่ในมหานทีสีทันดรตัวละสายพลอยตายไปด้วย เมื่อพญาปลาทั้งเจ็ดตาย น้ำมันในตัวปลาได้ไหลออกมา เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ทั้งเจ็ดดวงสาดลงมากระทบบนตัวปลาไฟบรรลัยกัลป์จึงเกิดขึ้น


                  การแบ่งชั้นภพของไตรภูมิแบ่งออกเป็น กามภูมิ๑๑ รูปภูมิ๑๖ และอรูปภูมิ๔ซึ่งไฟบรรลัยกัลป์นี้จะไหม้ถึงรูปภูมิชั้น๑๑ไหม้กามภูมิ๑๑ชั้นและรูปภูมิ๑๑ชั้น) เหลือรูปภูมิ๕และอรูปูภูมิ๔ไว้  เหล่าเทวดาจากชั้นรูปภูมิที่๑-๕ได้พากันหนีไฟบรรลัยกัลป์ขึ้นมาอยู่ที่ชั้นที่ไม่ไหม้ หลังจากที่ไฟไหม้โลกก็เกิดน้ำท่วมซ้ำอีกครา เวลาผ่านไปน้ำเริ่มแห้งทำให้เกิดแผ่นดินขึ้นมา กลิ่นดิน(บนแผ่นดินใหม่)ได้ส่งกลิ่นอบอวลไปถึงสวรรค์  เทวดาได้กลิ่นดินหอมเลยลงจากสวรรค์เพื่อมากินดิน แต่เมื่อกินแล้วเทวดาก็จะสูญเสียภาวะทิพย์(สภาพการเป็นเทวดา)ไปและกลายเป็นมนุษย์


                  ประเทศไทยเองก็เชื่อเรื่องการล้างโลกด้วยไฟเช่นกัน มีวรรณคดีไทยหลายเรื่องที่นำความเชื่อนี้มาใช้ในการแต่ง เช่น ในนิราศนรินทร์ มีโคลงบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า


           นทีสี่สมุทรม้วย           หมดสาย
ติงมิงค์มังกรผาย                   ผาดส้อน
หยาดเหมพิรุณหาย                เหือดโลก แล้งแม่
ราคะแสนร้อยร้อน                  ฤเถ้าเทียมทน


                  โคลงบทนี้พูดถึงตำนานไปล้างโลกตอนมหานทีสีทันดรเริ่มแห้งและเหล่าพญาปลาทั้งเจ็ดซ่อนตัวจากแสงอาทิตย์ทั้งเจ็ดดวง โลกที่ไม่มีน้ำสักชนิด แต่แม้จะถูกเผาจากแสงอาทิตย์ก็ยังไม่ร้อนเท่าไฟที่เกิดจากความกระหายในรัก



                  ตำนานจุดจบของโลกแตกต่างกันไปตามภูมิภาค การอวสานโลกด้วยไฟเป็นอีกหนึ่งตำนานความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู(ที่อยู่คู่ไทยมานาน) และในศาสนาพราหมณ์ฮินดู”ไฟ”ถือเป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างความชั่วร้ายให้บริสุทธิ์


วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ดวงดาวในเรื่องเจ้าชายน้อย

หนังสือเรื่องเจ้าชายน้อย วรรณกรรมเยาวชนอมตะ ที่ถูกแปลเป็นภาษาอื่นไปแล้วกว่า 37 ภาษาทั่วโลก  เจ้าชายน้อยแต่งโดย Antoine de Saint-Exupery (อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี)



little prince



ผู้ใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า “ตรรกะ”
วิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาศาสตร์ มากกว่าจินตนาการและธรรมชาติ
ผู้ใหญ่ไม่ค่อยจะเข้าใจอะไรเอาเสียเลย เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายมากสําหรับเด็กๆ ที่
จะต้องคอยป้อนคําอธิบายแก่พวกเขาอยู่เสมอ...



ผู้ใหญ่มักลืมตัวไปว่าตัวเองก็เคยเป็นเด็ก...
ลืมไปว่าตัวเองเคยมีจินตนาการ...
ลืมไปว่าตัวเองเคยสนใจอะไร...
พวกเขาโดนกฎเกณฑ์ เหตุผล และตัวเลขดึงออกจากโลกแห่งจินตนาการ
ไม่สนใจสิ่งรอบตัว มองข้ามสิ่งเล็กๆที่มีความสำคัญ



เพราะเมื่อโตขึ้นคนทุกคนก็ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมให้ได้
มีหลายคนที่ต้องซ่อนความเป็นตัวของตัวเองไว้ภายใต้การกระทำที่ดูเป็นผู้ใหญ่


เจ้าชายน้อยเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ ทั้งความคิดที่ตรงไปตรงมา คำพูดที่ออกมาจากใจโดยไม่มีการปรุงแต่ง ไม่ว่าคนฟังจะชอบหรือไม่ชอบแต่นั่นก็เป็นความจริง


ไม่มีการสร้างภาพเพื่ออยู่รอดในสังคม


ฉันชอบตอนที่เจ้าชายน้อยพบกับสุนัขจิ้งจอก
สุนัขจิ้งจอกได้สอนเจ้าชายน้อยถึงเรื่องของความสัมพันธ์
เจ้าชายน้อยจึงเข้าใจว่า



ชีวิตต้องการความรัก

และความรักนั้นก็เป็นเรื่องของหัวใจ

เป็นเรื่องของความรู้สึกรับผิดชอบ

ต่อสิ่งที่ตนรักนั่นเอง








วรรณกรรมเรื่องเจ้าชายน้อยมีความพิเศษ
เพราะเมื่อเราอ่านแต่ละครั้งการตีความหมายก็จะเปลี่ยนไป และจะเกิดความคิดใหม่ๆขึ้นมาเสมอ



เจ้าชายน้อยต้องออกเดินทางจากดาว B612 เพียงเพื่อดอกกุหลาบดอกเดียวของตนเท่านั้น

เจ้าชายน้อยได้เดินทางไปพบกับผู้คนในดวงดาวต่างๆ 6  ดวงด้วยกันซึ่งนั่นทำให้เจ้าชายน้อยได้พบกับคนหลากหลายประเภท ก่อนที่จะมายังดาวโลกซึ่งเป็นดาวดวงที่เจ็ด



ดาวทั้งหกที่เจ้าชายน้อยได้ไปพบมานั้น แต่ละดาวบ่งบอกถึงคนแต่ละประเภทที่มีอยู่บนโลก
เอาละเรามาดูกันเถอะว่ามีดาวอะไรบ้าง

ดาวดวงที่หนึ่ง
ดาวของพระราชา
พระราชาที่ใส่ ฉลองพระองค์ด้วยผ้าขนสัตว์สีแดงเข้ม บนบัลลังก์ธรรมดาๆ
           
ดาวดวงนี้แสดงถึงคนที่มีอำนาจ และใช้อำนาจในการให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้องการ


ดาวของพระราชา
ดาวดวงที่สอง
ดาวของคนหลงตัวเอง
เขามักจะคิดว่าคนอื่นชื่นชมนับถือเขาทั้งสิ้น

ดาวดวงนี้แสดงถึงคนที่ถือว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น และหลงระเริงไปกับคำชม


ดาวของคนหลงตัวเอง


ดาวดวงที่สาม
ดาวของชายขี้เมา
มีชายขี้เมาที่จมอยู่ในความเงียบหน้าขวดเหล้ากองโต ทั้งที่มีเหล้าเต็มและที่เป็นขวดเปล่าๆ

ดาวดวงนี้แสดงถึงคนที่ไม่ทำงานทำการ ได้แต่นั่งรอโอกาสมากกว่าที่จะหาโอกาส

ดาวของชายขี้เมา


ดาวดวงที่สี่
ดาวของนักธุรกิจ
            ชายคนนี้ยุ่งจนไม่มีเวลาแม้แต่จะเงยหน้ามองเจ้าชายน้อย

ดาวดวงนี้แสดงถึงคนเอาจริงเอาจัง ทำงานเพื่อแลกกับความสะดวงสบายในชีวิต

ดาวของนักธุรกิจ


ดาวดวงที่ห้า
ดาวของคนจุดโคมไฟ
            ดาวดวงนี้เป็นดาวที่แปลกมาก มีเนื้อที่เล็กนิดเดียว และมีที่ว่างเฉพาะสําหรับโคมไฟกับคนจุดโคมเท่านั้น

ดาวดวงนี้แสดงให้เห็นถึงบุคคลที่เห็นแก่คนอื่นมากกว่าตนเอง แต่ถูกละเลยหรือมองข้าม


ดาวของคนจุดโคมไฟ

ดาวดวงที่หก
ดาวของนักภูมิศาสตร์
ดาวดวงนี้ใหญ่กว่าดวงก่อนถึงสิบเท่า ชายชราคนหนึ่งกําลังเขียนหนังสือเล่มมหึมา

ดาวดวงนี้แสดงถึงบุคคลที่ใฝ่หาความมั่นคงในชีวิต
 ไม่สนใจสิ่งสวยงามที่ไม่จีรัง แต่ใฝ่หาสิ่งที่มั่นคงและยั่งยืน

ดาวของนักภูมิศาสตร์




นี่คือประโยคอมตะในเรื่องเจ้าชายน้อย

“ Here is my secret.

It is very simple:

It is only with the heart that one can see rightly;

what is essential is invisible to the eye. ”



“ลาก่อน และนี่คือความลับของฉัน มันเป็นเรื่องธรรมดามาก ..เราจะเห็นอะไรได้เพียงด้วยหัวใจ

เท่านั้น สิ่งสําคัญไม่อาจเห็นได้ด้วยตา