วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนนอกระบบ Home School ของฉัน

หลังจากที่หายหน้าหายตากันไปนาน  ก็กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ ซึ่งการกลับมาครั้งนี้เราก็จะมาเล่าถึงประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับมาตลอดช่วงเวลา 3 เดือน ที่ห่างหายไปจากการเขียนบล็อก
            ตลอดสามเดือนมานี้มีสิ่งที่เราได้เรียนรู้มากมายหลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เช่น
เรื่องของหลักการคิด
Concept (กรอบความคิด) การสังเกต และการตั้งคำถาม ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรที่จะมี บางคนมีเยอะบางคนมีน้อย แต่จะมากหรือจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ฝึกให้ คิด
ในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ถูกฝึกให้ “คิดเป็น” จขบ.คิดว่าตัวเองเป็น 1 ใน 10 ที่ถูกฝึกมาเพื่อให้ “คิดเป็น” เราถูกฝึกมาให้มองเห็นในสิ่งที่ คนอื่นมองไม่เห็น (ความละเอียด) ฝึกการคิดให้เป็นลำดับขึ้นตอน (Process) ว่าโจทย์คืออะไร  เกิดอะไรขึ้น มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดผลอย่างนี้ คิดโดยให้เหตุผลและข้อมูลที่เรามีเข้าช่วย
http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQMJLV3vwkSjxuTSsiTByjVl2PFqX2R_LMO5v6AHYK2AuOdzaBn(Process)
การตั้งคำถามและการตอบคำถามเป็นสิ่งที่เราทุกคนเห็นกันจนชินตา เลยทำให้เราไม่ได้สังเกตถึงวิธีการตั้งคำถามหรือการตอบคำถามของแต่ละคน แต่เมื่อเราได้ลองสังเกตดู บางคนก็ตั้งคำถามได้ดี แต่บางคนก็ตั้งคำถามไม่ดี (ถามแบบใครๆก็ถามกันได้ ถามแบบลอยๆ )  ซึ่งถ้าเราตังคำถามไม่ดีคำตอบที่เราได้อาจจะไม่ตรงตามที่เราต้องการ ส่วนการตอบคำถามบางคนก็ตอบแบบผ่านๆไม่ใส่ใจ การตอบคำถาม เราต้องตอบให้ตรงประเด็นและอย่างใช้คำที่กว้างมากแบบตอบยังไงก็ถูก เราต้องมีข้อมูลที่คอบสนับสนุนหรือเป็นพื้นหลังให้เราเสมอๆ ไม่ใช่ไม่รู้ แล้วตอบไปส่งๆ เพราะถ้าเกิดตอบออกไปแล้วเจอคำถามเด้งกลับมาอีกแล้วเราไม่มีข้อมูลรองรับเลย เราอาจจะแย่ได้
การเชื่อมโยงและการบันทึกก็เป็นอีกอย่างที่มีความสำคัญต่อเรามากพอสมควร  จขบ.คิดว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า Mind Map มาบ้างแล้ว(บางคนเคยทำแล้วด้วย) เคยสงสัยไหมว่า ทำไมจะต้องมี Mind Map
Mind Map คือแผนผังความคิด ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างหัวข้อ ประเด็นหลัก ประเด็นรอง และส่วนย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยใช้ Keyword เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเรา
การทำ Mind map  เราทำขึ้นมาเพราะมันจะได้ช่วยเราในการนำเสนอข้อมูล จัดระบบความคิดและช่วยความจำ วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น
การทำ Mind map   แทบจะไม่มีประโยชน์ ถ้าเราทำไม่เป็น ต้องตั้งสติดีๆทั้งตอนอ่านและตอนทำ เพราะบางทีการอ่านแล้วเขียนเลย อาจจะทำให้เรางงได้เพราะหัวข้อบางหัวข้ออาจเชื่อมโยงกัน และต้องการจะสื่อข้อมูลอย่างเดียวกัน แต่แค่เขียนในรูปแบบที่แตกต่างออกไป
เรื่องรอบตัวที่ได้ความรู้เพิ่มขึ้น (ทางด้านวิชาการ)
v คณิตศาสตร์
การจะเรียนคณิตศาสตร์ให้เข้าใจไม่ใช้เรื่องยาก ถ้าเราเข้าใจ ระบบคิด ของมันจริงๆ เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้หลักเหตุและผล ถ้าพื้นฐานเราแน่นเวลาไปเจอโจทย์หรืออะไรที่มันยากๆแล้วต้องไปประยุกต์ เราก็สามารถเชื่อมโยงมันได้ แล้วยิ่งเราโตขึ้น เรียนยากขึ้น พบกับโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เราก็จะไม่เข้าใจเลย เพราะพื้นฐานของเราจริงๆ ยังแน่นไม่พอ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากแต่ในบางทีเราก็มองมันไม่เห็น ยกตัวอย่างง่ายๆเลยกับ

เรื่องของ “การเติมน้ำมันรถ ด้วยเงิน 500 บาท” (อันนี้คุณครูให้โจทย์มา)

รถที่น้ำมันกำลังจะหมด แต่เติมเข้าไป 500 บาท จะได้น้ำมันกี่ลิตร และวิ่งได้กี่กิโลเมตร (แค่นี้เราก็ถือว่าเป็นการนำคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว)
เราได้ฝึกการสังเกต หาข้อมูล (ว่าวันนี้น้ำมันลิตรละเท่าไหร่) ฝึกความละเอียด เพราะถ้าเราไม่ละเอียด(ในเรื่องนี้)เราก็จะไม่รู้ว่า รถเราเหลือน้ำมันแค่ไหน แล้วขับต่อได้อีกกี่กิโลเมตร น้ำมันเท่านี้ควรขับยังไง (เร็ว ช้า?) แล้วถ้าเติมเท่านี้ ขับต่อได้อีกเท่าไหร่ ที่สำคัญเราได้เรียนรู้เรื่องของการคาดการณ์ (ประมาณค่า) เหตุการณ์ต่างๆ เพราะเมื่อเราคาดเดาสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดได้เราอาจจะทำให้ปัญหาที่เกิดรุนแรงน้อยลง หรือ ปลอดภัย และ ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อตัวเราเองและผู้อื่น


v เรียนภาษาไทยกับคุณครู
ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากและมีความซับซ้อนมาก แต่ก็เป็นภาษาที่มีความงดงามมากเช่นกัน การจะแต่งอะไรออกมาสักอย่างถ้าเรารู้ประวัติของผู้แต่ง รู้จุดประสงค์ของผู้แต่งว่าแต่งมาเพื่ออะไร และรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แต่ง ก็สามารถทำให้เราเข้าใจเรื่องที่อ่านและซึมซับมันได้มากขึ้น ตอนนี้ภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมามาก คำเดิมๆบางคำอาจสูญหายไปแล้วในสมัยนี้ หรือ ถูกใช้น้อยลง มีคำที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่มากมาย เอกลักษณ์ของความเป็นไทยอาจสูญหายไปตามเวลา และมันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องอนุรักษ์มันไว้
ภาษาไทยจะฝึกเราในเรื่อของการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน


o   การฟัง
เด็กไทยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยฟังเลยทำให้บางครั้ง สะกดคำไม่ค่อยจะถูก

 แต่บ่างครั้งการฟังอย่างเดียวมันก็ไม่ได้ช่วย เพราะการสะกดต้องอาศัย

พื้นความรู้และประสบการณ์จากการอ่านงานเขียนที่มีคุณภาพในหลายๆ

 แต่การฟังก็ถือว่าช่วยได้ระดับหนึ่ง ดีกว่าไม่ฟัง
o   การพูด
คนที่พูดได้ดี ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดมาก เพราะบางทีคนที่พูดมากก็จะแถ

ไถไปเรื่อยๆไม่มีประเด็นเลย แต่คนที่พูดดีคือ พูดแล้วมีประเด็น สื่อให้

คนฟังเข้าใจ และสนใจในตัวผู้พูด แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องจับอารมณ์คนฟัง

ให้ได้ว่า คนฟังพร้อมที่จะรับเนื้อขนาดไหน เพราะถ้าใส่แต่เนื้ออย่าง

เดียวบาทีก็จะทำให้เบื่อ ซึ่งทำให้บางครั้งเราก็ต้องแทรกอะไรเข้าไปบ้าง

เพื่อให้เขาเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ

o   การเขียน
บทความ => เวลาจะเขียนอะไรเราต้องมีเป้าหมายก่อน ต้องรู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และมีประเด็นที่จะเขียน และเมื่อมีเป้าหมายแล้วก็ต้องมาดูกันว่าสิ่งที่เราเขียนเราต้องการให้คนอ่านได้อะไรจากมัน ซึ่งการรู้กลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้เราเขียนงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
o   การอ่าน
ตั้งคำถามก่อนอ่าน (ต้องรู้ว่าบทนี้เขาต้องการจะบอกอะไรเรา) หา key word ให้เจอ อ่านแล้วจะต้องคิดตาม ตั้งคำถามตาม ไม่ใช่อ่านไปเรื่อยๆแล้วก็จำ เวลาผ่านไปก็ลืม (ไม่มีใครจำสิ่งที่ตัวเองอ่านได้หมดหรอก) แต่ถ้าเราจับประเด็นไปได้ว่าหนังสือเล่มนี้ หรือบทความนี้ต้องการจะบอกอะไรกับเรา ก็จะช่วยให้เราอ่านหนังสือได้ง่ายยิ่งขึ้น  
ซึ่งวิธีการนี้เรายังสามารถนำไปใช้ได้กับการอ่านหนังสือสอบได้อีกด้วย
(ที่จริงใช้ได้กับการอ่านทุกประเภทตั้งแต่หนังสืออ่านเล่น ไปจนถึงหนังสือพิมพ์)



              เราจะเห็นได้ว่า การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทุก

อย่างมันสอดคล้องกันหมด เช่น

ถ้าเรามีทักษะการอ่านที่ดี ทักษะการเขียนของเราก็จะดีขึ้นตามไปเพราะ
เราได้อ่านงานหลายๆรูปแบบ

ถ้าเราฟังแล้วจับใจความได้ดีก็จะส่งผลให้การพูดของเราดีด้วย เพราะพูด

แล้วมีประเด็นผู้ฟังๆแล้วเข้าใจ


v เรียนศิลปะกับคุณครู
ความพยายามเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานศิลปะ เพราะกว่าจะได้งานออกมาหนึ่งชิ้นนี่เหนื่อยมากพอสมควร กว่าจะเก่งได้ต้องเริ่มจากของง่ายๆ ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน และใจรักในการทำจริงๆถึงจะประสบความสำเร็จได้

v สังคม (อาเซียน)
รู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยหลังจากที่ไทยเข้า อาเซียน แล้ว
ข้อดี
-          เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น
-          ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
-          มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลาย
-          มีกฎระเบียบที่เป็นสากลมากขึ้น
      ข้อเสีย
-          เศรษฐกิจเติมโตดีแต่ไม่มีคุณภาพ
-          ประเทศอื่นอาจพัฒนาได้มากกว่าประเทศไทย
-          ประเทศเป็นหนี้
-          ระบบการศึกษาคุณภาพต่ำ
-          เป็นแค่ผู้บริโภค  ไม่ใช่ผู้ผลิต
-          วัฒนธรรมเดิมอาจถูกแทนที่ด้วยวัฒนธรรมจากประเทศอื่นๆ
            ที่สำคัญของสังคมคือ  เราเชื่อมโยงได้ว่าปัจจัยอะไรเกี่ยวพันกับอะไร  แล้วจะช่วยให้เราคาดการณ์ได้ เราเรียนเรื่องนี้เพื่อฝึกการคาดการณ์และการเชื่อมโยง เพราะสังคมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเรา


การได้ออกไปเจอโลกข้างนอก หาประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ (ท่องเที่ยว~~)
v เราได้ออกไปพบผู้คน เจออะไรใหม่ๆ (ผู้คนมีหลายหลายประเภท นิสัยต่างกัน แล้วจะรับมือและปฎิบัติกับเขาอย่างไร)
    =ที่โรงเรียนใหม่ =  
ได้เห็นครูที่เป็นครูจริงๆ ได้เห็นเพื่อนๆพี่ๆน้องๆในลักษณะนิสัยที่ต่างออกไป ทุกคนล้วนมีความแตกต่างแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้

     = เกาะยาว =
บางทีเราอาจจะคิดตัดสินอะไรไปเองเลยทำให้เรากลัว และพลาดโอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน เช่น ผู้คน ธรรมชาติ วิถีชีวิต อาหาร(?) อาชีพ ซึ่งแตกต่างออกไปจากคนกรุงเทพ บางอย่างก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยพบ การไปครั้งนี้สอนให้รู้ว่า อย่าตัดสินอะไรไปเอง ทั้งๆที่ยังไม่เคยลอง บางทีมันอาจจะดีกว่าที่คิดก็ได้
= ระยอง =
ไปทริปคราวนี้ได้รับโจทย์มาจากครูว่าให้จัดทัวร์ขึ้นมาคนละหนึ่งทัวร์
(สมมุติตัวเองว่าเป็นหัวหน้าทัวร์ )

การจัดทัวร์ไม่ใช่เรื่องง่าย จะจัดทัวร์ได้ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน (ยิ่งเป้าหมายชัดยิ่งจัดทัวร์ได้ง่าย) ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนไป ต้องไตร่ตรองให้ดี
เช่น สถานที่ เวลา กิจกรรม อาหารการกิน เส้นทาง ค่าใช้จ่าย และสุดท้ายครูก็ให้นำของทุกคนมารวมกัน โดยนำจุดเด่นของแต่ละทัวร์มารวมกัน โดยที่อย่าลืมเป้าหมาย
ซึ่งนี่ก็ทำให้เห็นว่าบางทีการทำงานด้วยกันมันทำให้เรามีความรอบคอบมากขึ้น เพราะมีคนช่วยคิดหลายคน และต่างคนก็ต่างทำหน้าที่ของตัวเอง และเมื่อถึงวันที่ไปเที่ยวกันจริงๆ ก็รู้ว่า ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไกด์ทกคนต้องมี เพราะถ้าข้อมูลไม่แน่น เราก็จะบอกกับลูกทัวร์ไม่ได้ว่าที่นี่คือที่ไหน แล้วมาทำไม อะไรเป็นจุดเด่น ที่สำคัญคือเราไม่รู้ว่าร่างกายใครจะไม่ไหวก่อนเพราะฉะนั้นไกด์ควรมีข้อมูลทุกคน  การตัดสินใจที่จะทำอะไร หรือจะไปไหนถือว่ามีความสำคัญมากเพราะการตัดสินใจของเราคือความเป็นความตายของลูกทัวร์ (ฮา)
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นสิ่งที่ฝึกได้เยอะเลยทีเดียวในทริปนี้  ได้ประสบการณ์ใหม่ (รู้ถึงอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่าเชื่อคนง่าย ปฏิเสธคนให้เป็น)

ความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง สิ่งที่ค้นพบ
-          ตัวเองคิดเป็นมากขึ้น เริ่มรู้จักการตั้งคำถาม การสังเกต
-          มีความรับผิดชอบมากขึ้น
-          ไม่เบี่ยงประเด็น(เปลี่ยนเรื่อง)ถ้าตอบไม่ได้
v ความมั่นใจเป็นสิ่งสำคัญ
เราต้องมีความมั่นใจในตัวเองให้มากขึ้น เพราะถ้าตัวเองยังไม่เชื่อมั่นในตัวเอง แล้วจะมั่นในความเก่ง ความสามารถของเรา ถ้าเราอยากจะให้ใครเชื่อมั่นในความสามารถของเรา เราก็ต้องมั่นใจในตัวเองก่อน
v เรียนรู้จากความบางที่สิ่งที่เราทำอาจจะไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่เราคาดหวังเอาไว้ ก็ไม่เป็นไร แต่ขอแค่ให้ทำสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นเราก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิด แล้วกลับมาย้อนดูว่าสิ่งที่เราทำมีขั้นตอนไหนที่ผิดพลาดซึ่งเราจะได้เรียนรู้จากมันและนำกลับมาแก้ไข และเริ่มต้นใหม่ให้ดีกว่าเดิม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น