วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระบรมราโชวาท คำพ่อสอนลูก

พระบรมราโชวาท คำพ่อสอนลูก

          ...เงินทองที่จะใชสอยในค่ากินอยู่นุ่งห่มหรือใช้สอยเบ็ดเสร็จทั้งปวง
จงเขม็ดแขม่ใช้แต่เพียงพอที่อนุญาตให้ใช้ อย่าทำใจโต มือโต ...


คำสอนข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า(ร.๕) ได้ทรงประทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๔ ที่เสร็จไปศึกษาวิชาความรู้ ณ ต่างประเทศ ได้แก่

๑.    พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
๒.   พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
๓.   พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
๔.   พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงประทานพระบรมราโชวาทนี่ก็เพื่อสั่งสอนตักเตือนลูกที่ต้องออกไปศึกษาในต่างประเทศ เพราะการตั้งใจเล่าเรียนและการใช้จ่ายอย่างประหยัดไม่ฟุ่มเฟือยเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยเรียนไม่ให้หลงเดินทางไปในทางที่ผิด อีกทั้งพระเจ้าลูกยาเธอที่ ๔ พระองค์ยังทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงทรงห่วงใยเรื่อของการวางตนว่ามิให้อวดอ้างตนว่าเป็นเจ้าและมิให้แสดงอำนาจข่มผู้อื่น แต่ให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ส่วนในเรื่องของการใช้เงินก็ทรงกำชับอย่างแน่นหนาว่าให้ใช้เงินอย่างประหยัด ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และมิให้ก่อนหนี้สิน ทว่าถ้าหากมีหนี้สินก็จะไม่ใช้หนี้ให้ ในเรื่องการศึกษาก็ได้ทรงชี้แจงว่าให้ศึกษาวิชาภาษาอย่างน้อยสามภาษา แต่ก็ต้องไม่ละเลยวิชาภาษาไทย วิชาเลขก็เป็นอีกวิชาหนึ่งที่พระองค์ทรงกำชับไว้ว่าต้องเรียน

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนึงถึงผลประโยน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ เห็นได้จากการที่ทรงกำชับให้เห็นพยายามแสวงหาความรู้แล้วนำกลับมาพัฒนาประเทศชาติต่อไป แต่ก็ทรงคำนึงถึงความสุขและความสำเร็จของลูกเสมอ เช่นเดียวกับพ่อแม่ทั่งไปที่ห่วงใยลูก และอย่างเห็นลูกมีหน้ามีตาในสังคม

เนื้อความภายในจดหมายคำสั่งตามความประสงค์ให้แก่ลูก
มีใจความสำคัญว่าดังนี้

๑.    อย่าอวดอ้างตัวเองว่าเป็นเจ้า เพราะเมื่อไปอยู่ต่างประเทศก็ไม่มีอำนาจที่จะทำการใดผิดกับคนสามัญได้
๒.   ตั้งใจเล่าเรียนให้คุ้มกับเงินที่เสียไปเพราะเงินที่ใช้จ่ายในการเล่าเรียนกินอยู่นั้นเป็นเงินพระคลังข้างที่ (เป็นเงินแผ่นดินส่วนที่ถวายพระมหากษัตริย์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเงินเดือนของกษัตริย์ก็ได้กระมัง)
๓.   ใช้ความรู้และสติปัญญาของตนเข้ามาใช้ในการบริหารบ้านเมืองให้สมแก่ยศและศักดิ์ของตัวเอง
๔.   ให้เป็นคนเป็นคนอ่อนน้อมว่านอนสอนง่าย อย่าหลงไปในทางที่ผิด อย่าละเลยคำตักเตือนที่ได้รับจากผู้อื่น
๕.   ให้ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือยเพราะเงินทองไม่ใช่ของที่หามาได้มาได้ง่ายๆให้ใช้แต่ในสิ่งจำเป็นเท่านั้น
๖.    ต้องศึกษาเล่าเรียนภาษาให้ได้อย่างน้อยสามภาษา (แต่ก็อย่าละเลยวิชาภาษาไทย) กับวิชาเลข และวิชาตามความชำนาญของตน
๗.   มีธุระขัดข้องประการใดให้ติดต่อถึง กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรประการ แต่ถ้าอยู่ในต่างประเทศก็ให้ติดต่อราชทูตของเราที่อยู่ที่นั้น และไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้เต็มที่


แล้วจะนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
(เรียงตามข้อ)

๑.    อย่าอวดว่าตนเป็นใคร อย่าโอ้อวดถึงฐานะของตนเอง
๒.   ตั้งใจเรียนหนังสือให้คุ้มกับเงินของพ่อแม่
๓.   ใช้ความรู้ของตัวเองที่ได้เรียนมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการทำมาหากินสุจริต และเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า
๔.   เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน และอย่าเห็นผิดเป็นถูก
๕.   ให้เป็นคนไม่ฟุ่มเฟือยประหยัด
๖.    วิชาพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเรียน (ภาษา คณิต วิทย์ สังคม ภาษาไทย)
๗.   ไม่ว่าจะไปไหนก็ต้องกอบโกยความรู้และตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่


 -------------------------------------------------------------------------------

จบแล้วกับเรื่องพระบรมราโชวาทนะคะ
แล้วเจอกันเอนทรี่หน้าค่ะ

สวัสดี