วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่อง “เห็นแก่ลูก”

            หลายคนคงผ่านหูผ่านตากันมาบ้างแล้วกับบทละครพูดเรื่องนี้ (ในช่วงสมัยที่ยังเด็ก)บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นบทละครพูดที่ประทับใจและอยู่ในความนิยมมาเนิ่นนาน

วันนี้เราจะมาวิเคราะห์บทละครพูดเรื่องนี้กันค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกันก่อนว่า บทละครพูดคืออะไร

            บทละครพูดคือละครที่แสดงโดยมีตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนชีวิตจริงแต่ไม่มีการสอดแทรกดนตรี การรำ หรือการขับร้องขณะแสดง มีเพียงแค่บทสนทนาของตัวละครเท่านั้น

            บทละครพูดเริ่มมีในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้รับความนิยมและแพร่หลายสูงสุดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

            การที่เราจะอ่านบทละครพูดให้สนุกสานแล้วเข้าในนั้นเราจะต้องอ่านอย่างพินิจพิจารณามากเป็นพิเศษเพราะในบทละครพูดนั้นไม่มีการบรรยายลักษณะเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น สถานที่ บรรยากาศ หรือแม้กระทั่งความรู้สึกนึกคิดของตัวละครอย่างละเอียดเหมือนกับบทละครรำอื่นๆ มีเพียงแต่การบรรยายฉากและลักษณะตัวละครไว้อย่าคร่าวๆตอนต้นเรื่องเท่านั้น ดังนั้นผู้อ่านจึงต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการใช้จินตนาการในการอ่านเพื่อที่จะทำความเข้าใจในตัวละครว่า การที่ตัวละครแสดงพฤติกรรมอย่างนี้ พูดอย่างนี้ เขาคิดและรู้สึกอย่างไร เราถึงจะอ่านบทละครพูดได้ด้วยความสนุกสนานและซึมซับกับเรื่องที่อ่านได้อย่างเต็มที่


บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

            เรื่องเห็นแก่ลูกเป็นบทละครพูดที่มีขนาดสั้นเพราะมี องก์เดียว ฉากเดียว
(องก์ หมายถึง ตอนหนึ่งในบทละคร มีฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้)

บทละครพูดเรื่องพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้คิดเค้าโครงเรื่องขึ้นเอง มิได้ดัดแปลงมาจากภาษาอื่น สันนิฐานว่าบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ไม่ใช่การแปล

            ในบทละครเห็นแก่ลูกนี้มีวิธีการใช้คำพูดหรือการแสดงท่าทางอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ค่านิยมบางอย่างในสมัยนั้นถูกแทนที่ด้วยค่านิยมสมัยใหม่ เพราะเหตุนี้เลยทำให้บางทีเราต้องใช้เวลาสักนิดเพื่อทำความเข้าใจในบทละครที่อ่าน แต่ “แก่น” ของบทละครเรื่องนี้ก็ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนไปนั่นคือความรักของพ่อและแม่ที่มีต่อลูกและเห็นแก่ลูกโดยการเสียสละความสุขของตนและทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกมีความสุขและได้รับในสิ่งที่ดีที่สุด


วิเคราะห์

ฉาก:
         
              ฉากที่บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกใช้คือฉากบ้านของพระยาภักดี ในห้องหนังสือ ซึ่งฉากในห้องหนังสือนั้นก็แสดงถึงความเป็นส่วนตัวของเรื่องที่จะคุยกันว่าเป็นเรื่องที่คนอื่นๆจะรู้ไม่ได้ และยังสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกของเจ้าบ้านหรือพระยาภักดีว่าเป็นผู้ดีมีตระกูล มีการศึกษา รวมไปถึงการได้รับอิธิพลจากยุโรปในสมัยนั้นด้วย

ตัวละคร:

นายล้ำ ทิพเดชะ

ข้อมูลเกี่ยวกับนายล้ำเมื่อเริ่มเรื่องนั้นเราทราบแค่ว่านายล้ำเป็นคนที่หน้าแก่กว่าอายุเนื่องจากตัวเองเป็นคนดื่มเหล้าจัด

นายล้ำแท้จริงแล้วเป็นบิดาแท้ๆของแม่ลออแต่เดิมเคยรับราชการจนได้รับราชทินนามว่า ทิพเดชะ แต่ก็ต้องเข้าคุกเข้าตารางเพราะโกงพอออกมาจากคุกก็หนีไปอยู่ที่พิษณุโลกแล้วก็ค้าขาย ฝิ่น จนฉิบหายหมดตัว และเมื่อทราบข่าวว่าลูกสาวของตนซึ่งก็คือแม่ลออกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ จึงลงจากพิษณุโลกมาหาพระยาภักดีที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนและเป็นพ่อเลี้ยงของแม่ลออในตอนนี้ด้วย

การที่นายล้ำมาหาพระยาภักดีนั้นในตอนแรกมีจุดประสงค์คือมาเกาะลูกกิน คือไม่มีปัญญาที่จะทำมาหากินแล้วเพราะไม่มีเงิน แต่สุดท้ายความเห็นแก่ตัวของนายล้ำก็แปรเปลี่ยนเป็น “เห็นแก่ลูก” เมื่อได้รู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของแม่ลออต่อพ่อผู้ให้กำเนิดโดยการแสดงความรักและความภาคภูมิใจถึงแม้จะไม่เคยพบหน้ากันเลยก็ตาม

นายล้ำได้ฟังดังนั้นจึงเกิดความละอายเลยตัดสินใจที่จะไม่บอกความจริงว่าตนเป็นพ่อแท้ๆของงแม่ลออและยอมเสียสละความสุขส่วนตนโดยที่ยอมลำบากต่อไปเพื่อให้ลูกสุขสบายและไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม


พระยาภักดี นฤนาค

            พระยาภักดีเป็นเพื่อนกับนายล้ำมาแต่ก่อน และชอบผู้หญิงคนเดียวกันนั่นก็คือแม่นวลแต่แม่นวลนั้นก็ได้แต่งงานกับนายล้ำแต่ไม่พบกับความสุขอันใดเลย ก่อนที่แม่นวลจะสิ้นใจนางก็ได้ฝากฝังลูกสาวของนาง นั่นก็คือแม่ลออไว้กับพระยาภักดี ซึ่งพระยาภักดีก็ได้ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจและรักแม่ลออเหมือนลูกแท้ๆ พระยาภักดีได้อบรมสั่งสอนแม่ลอออย่างตระกูลผู้ดีและปลูกฝังให้ลูกรักและภูมิใจในตัวพ่อแท้ๆ(ซึ่งก็คือนายล้ำ)พระยาภักดีจึงรับหน้าที่กลายเป็นพ่อบุญธรรมของแม่ลออไปโดยปริยาย

          เมื่อนายล้ำต้องการที่จะแสดงตนว่าเป็นพ่อแท้ๆของแม่ลออพระยาภักดีก็ขัดขวางทุกวิถีทางเพราะเกรงว่าแม่ลออจะขายหน้าและถูกสังคมรังเกียจเมื่อรู้ว่าพ่อตนจริงๆแล้วเป็นแบบไหน ด้วยความที่พระยาภักดีเป็นคนที่ร่ำรวยในตอนแรกจึงจ่ายเงินปิดปากนายล้ำแต่นายล้ำก็ไม่ยอม ถึงขั้นยอมเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงโดยการใช้กำลังขมขู่นายล้ำ แสดงให้เห็นถึงความรักของพระยาภักดีที่มีให้กับแม่ลออแม้จะไม่ได้เป็นลูกแท้ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระยาภักดีเป็นคนที่เห็นแก่ลูกมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว


แม่ลออ

           
มีพ่อแท้ๆคือ นายล้ำ ทิพเดชะ
มีพ่อบุญธรรมคือ พระยาภักดี นฤนาค

            แม่ลออกำลังจะออกเรือนเพื่อไปแต่งงานกับนายทองคำ แม่ลออเป็นคนอ่อนโยน เรียบร้อย สุภาพ และมีมารยาทงามสมกับเป็นตระกูลผู้ดี อีกทั้งยังเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีเห็นได้จากการที่คิดว่าพ่อของตนเป็นคนดีและสมบูรณ์แบบ (จนทำให้นายล้ำเกิดความละอายใจ)


อ้ายคำ

            เป็นบ่าวของพระยาภักดี ซึ่งเป็นคนซึ่งสัตย์ ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รักเจ้านายมาก ฉลาดและดูคนเป็น เห็นได้จากตอนที่นายล้ำเข้ามาหาพระยาภักดีที่บ้าน อ้ายคำเล็งเห็นว่านายล้ำมีท่าทีที่ไม่น่าไว้วางใจ อ้ายคำจึงยืนยันที่จะนั่งเฝ้าอยู่ด้วยแม้จะถูกบอกให้ไปที่อื่นก็ตาม

-------------------------------------------------------------------------
จบแล้วค่ะกับบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
เจอกันเอนทรีหน้านะคะ

1 ความคิดเห็น: